Cristina Mittermeier นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลผู้เปลี่ยนงานอดิเรกถ่ายภาพใต้น้ำสู่ช่างภาพอาชีพ National Geographic Photographer

อาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกนักหากใครสักคนจะเปลี่ยนงานอดิเรกที่ตนชอบมาสู่อาชีพที่ทำเงินได้ควบคู่ไปกับอาชีพหลักของตน อย่างเหล่านักชีววิทยาที่ส่วนใหญ่อาจจะวุ่นวายกับการศึกษาเรื่องของธรรมชาติจนอาจจะไม่มีเวลาทำอย่างอื่นๆ แต่นักชีววิทยาทางทะเลชื่อดังอย่าง  Cristina Mittermeier ผู้ก่อตั้ง Conservation International องค์กรที่ทำงานด้านปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเลและยังเป็นทั้งนักเขียนให้กับนิตยสารชื่อดัง National Geographic Photographer หันมาเอาดีทางช่างภาพจนสามารถคว้ารางวัลถ่ายภาพของ National Geographic Photographer รวมถึงการทำงานในฐานะช่างภาพอาชีพในวงการอีกด้วย Photoupdate จะพาผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักกับช่างภาพหญิงคนนี้ถึงแรงบันดาลใจในการถ่ายภาพและมุมมองของเธอกัน

1.ช่วยแนะนำตัวให้ผู้อ่านรู้จักหน่อยครับ

ฉันเติบโตในเม็กซิโกจนถึงช่วงวัยรุ่น ด้วยความหลงใหลในทะเลอย่างมาก ทำให้ฉันเข้าศึกษาในสาขาวิชาชีววิทยาทางทะเล ในตอนนั้นในเม็กซิโกยังไม่มีการเปิดสาขาวิชานี้ทำให้ฉันต้องไปศึกษาในสาขา วิศวกรรม ชีววิทยา ซึ่งอยู่ในคณะ ประมงและเกษตรกรรม

งานที่ทำหลังเรียนจบเป็นงานด้านการอนุรักษ์ ตอนนี้ก็ทำมากว่า 30 ปีตั้งเรียนจบมาทำให้เราได้เรียนรู้และเข้าใจภัยอันตรายที่มีผลต่อทะเลและวิธีที่ช่วยโลกของเราดำเนินต่อไปได้ ซึ่งประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้เข้าใจในวิทยาศาสตร์มากขึ้นและที่สำคัญอีกอย่างคือการลงทุนด้านการสื่อสารเพื่อสร้างการเข้าใจและร่วมมืออนุรักษณ์มากขึ้นด้วย

2.เหตุผลอะไรที่ทำให้คุณหันมาสนใจการถ่ายภาพมากขึ้น

เป็นอุบัติเหตุค่ะ ฉันบังเอิญได้เข้ามารู้ว่าการถ่ายภาพเป็นเครื่องชั้นเยี่ยมสำหรับการสื่อสาร ก่อนหน้านี้ฉันไม่เคยคิดว่าจะเอาดีด้านถ่ายภาพมาก่อนแต่ก็ได้เรียนรู้ว่าการถ่ายภาพช่างดายเหลือเกินและสามารถใส่มุมภาพที่ซับซ้อนมากขึ้นก็ได้ทั้งไอเดีย เรื่องราวได้ง่าย ทำให้ต้องกลับเรียนสาขา ART Photography และ Digital Photography ที่ Corcoran College ใน วอชิงตัน ซึ่งได้เรียนเทคนิคในห้องมืด ภาพสี-ขาวดำ ซึ่งการเรียนในห้องเรียนทำให้เราได้รู้จักกับเหล่าศิลปินรุ่นใหม่หลายคนและได้แรงบันดาลใจในการถ่ายภาพและมีอิทธิพลต่องานของฉันด้วย

3.ช่างภาพหลายคนมักจะถ่ายวิว แฟชั่น บุคคลแต่ของคุณกลับถ่ายในสิ่งที่แตกต่างอย่างการถ่ายภาพใต้น้ำ อย่างโครงการ Beneath the thin Blue Line ที่ภาพออกมาสวยงามมาก ช่วยเล่าเรื่องราวของการดำน้ำ สถานที่และรายละเอียดการทำงานต่างๆให้ฟังหน่อย

โดยธรรมชาติของฉันแล้วอาจจะโน้มเอียงและมีความอ่อนไหวกับการถ่ายภาพบุคคลมากพอสมควร จึงทำให้ในการถ่ายภาพช่วงแรงของฉันเน้นไปกับการถ่ายภาพชนพื้นเมืองเสียส่วนใหญ่ แต่เมื่อเราหันมาถ่ายภาพธรรมชาติมันทำให้เราต้องใช้เวลานานกว่าเดิมในการถ่ายมากทีเดียวซึ่งมันทำให้เรามีโอกาสได้สร้างสรรค์ภาพสัตว์ป่าและเหตุการณ์สวยๆ มากขึ้น รวมถึงการกระบวนการทำงานที่ช่วยให้งานมีเรื่องราวที่น่าสนใจ ซึ่งตอนนี้ฉันสนใจการถ่ายภาพใต้น้ำมากๆ ด้วยเป้าหมายพิเศษที่ทำให้ฉันต้องหันกล้องมาถ่ายภาพทะเลและเปิดเผยให้คนนับล้านบนโลกได้เข้าใจการพึ่งพา Ecosystem เพื่อให้พวกเขามีชีวิตรอดต่อไป ซึ่งฉันรู้สึกว่าตลอดการเรียนรู้ตลอด 30 ปีที่ผ่านมากำลังมารวมกันเพื่อเปิดเผยความรู้ต่างๆ ผ่านผลงานของฉัน

4.เห็นคุณบอกว่ารูปในดวงใจของคุณเป็นรูปเป็ดบนหัวผู้หญิง อะไรคือความประทับใจ

จริงๆมันเป็นห่านนะคะ (หัวเราะ) เป็นภาพที่ถ่ายในช่วงต้นๆของอาชีพเมื่อตอนที่เริ่มเข้าใจการถ่ายภาพนะคะ

ตอนนั้นฉันมีโอกาสได้ไปเที่ยวจีน โดยได้ไปภาคตะวันตกเฉียงใต้ ตรงที่เป็นชายแดนติดกับธิเบต บริเวณนั้นจะมีความหลากหลายทางชนชาติเยอะมากๆ ทำให้เป็นจุดที่น่าสนใจมากสำหรับการถ่ายภาพ

ส่วนภาพนี้ได้มาตอนฉันกำลังสนุกสนานกับอาหารมื้อเช้าและกล้องที่พกไปตอนนั้นเป็นกล้องฟิล์มแบรนด์ Yachica ระหว่างทานอาหารบังเอิญหันไปเห็นผู้หญิงคนหนึ่งกำลังแบกห่านอยู่ ฉันรีบเดินไปหาเธอแล้วกดมาสามรูปแต่มีเพียงรูปเดียวที่ใช้ได้

5.อะไรคืออุปสรรคสำคัญในงานของคุณและมีคำแนะนำที่อยากจะแบ่งปันให้กับคนที่อยากจะเป็นช่างภาพ National Geographic

การรักความแข็งแกร่งและความกระตือรือร้นตลอด 2 ทศวรรษ เป็นสิ่งที่ท้าทายการทำงานของฉันมาก การเป็น freelance ที่มาพร้อมกับอิสระไร้การควบคุมแต่มันก็ต้องแข่งขันกับคู่แข่งนับร้อยนับพันอย่างช่างภาพที่มีความสามารถทั่วโลก ซึ่งไม่มีอะไรแน่นอนเลยทั้งความมั่นคงและรายได้ที่เข้ามา สำหรับคำแนะนำของฉันสำหรับช่างภาพที่อยากจะเข้ามาในวงการควรจะโฟกัสในงานถ่ายที่พวกเขารักและแรงบันดาลใจที่จะทำมัน ซึ่งความต้องการจะเป็นช่างภาพที่ประสบความสำเร็จในการขายผลงานหรือสร้างรายได้เยอะๆนั้น เป็นเป้าหมายที่หลายคนหวังไว้แต่ความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงโลกหรือแรงบันดาลใจดีๆจะช่วยให้เราอยู่กับการทำงานได้นานกว่าการมองเรื่องของธุรกิจที่มีขึ้นมีลงตลอดเวลา

ได้อ่านสัมภาษณ์ของช่างภาพหัวใจน้ำเงินครามแบบนี้แล้วใครที่อยากจะถ่ายภาพหรือทำงานในวงการถ่ายภาพอาจจะลองเอาแนวคิดของเธอไปลองใช้ดู เชื่อว่าอาจจะทำให้เรามีความสุขกับการถ่ายภาพมากขึ้นได้แน่นอน