Cristina Mittermeier นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลผู้เปลี่ยนงานอดิเรกถ่ายภาพใต้น้ำสู่ช่างภาพอาชีพ National Geographic Photographer

อาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกนักหากใครสักคนจะเปลี่ยนงานอดิเรกที่ตนชอบมาสู่อาชีพที่ทำเงินได้ควบคู่ไปกับอาชีพหลักของตน อย่างเหล่านักชีววิทยาที่ส่วนใหญ่อาจจะวุ่นวายกับการศึกษาเรื่องของธรรมชาติจนอาจจะไม่มีเวลาทำอย่างอื่นๆ แต่นักชีววิทยาทางทะเลชื่อดังอย่าง  Cristina Mittermeier ผู้ก่อตั้ง Conservation International องค์กรที่ทำงานด้านปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเลและยังเป็นทั้งนักเขียนให้กับนิตยสารชื่อดัง National Geographic Photographer หันมาเอาดีทางช่างภาพจนสามารถคว้ารางวัลถ่ายภาพของ National Geographic Photographer รวมถึงการทำงานในฐานะช่างภาพอาชีพในวงการอีกด้วย Photoupdate จะพาผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักกับช่างภาพหญิงคนนี้ถึงแรงบันดาลใจในการถ่ายภาพและมุมมองของเธอกัน 1.ช่วยแนะนำตัวให้ผู้อ่านรู้จักหน่อยครับ ฉันเติบโตในเม็กซิโกจนถึงช่วงวัยรุ่น ด้วยความหลงใหลในทะเลอย่างมาก ทำให้ฉันเข้าศึกษาในสาขาวิชาชีววิทยาทางทะเล ในตอนนั้นในเม็กซิโกยังไม่มีการเปิดสาขาวิชานี้ทำให้ฉันต้องไปศึกษาในสาขา วิศวกรรม ชีววิทยา ซึ่งอยู่ในคณะ ประมงและเกษตรกรรม งานที่ทำหลังเรียนจบเป็นงานด้านการอนุรักษ์ ตอนนี้ก็ทำมากว่า 30 ปีตั้งเรียนจบมาทำให้เราได้เรียนรู้และเข้าใจภัยอันตรายที่มีผลต่อทะเลและวิธีที่ช่วยโลกของเราดำเนินต่อไปได้ ซึ่งประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้เข้าใจในวิทยาศาสตร์มากขึ้นและที่สำคัญอีกอย่างคือการลงทุนด้านการสื่อสารเพื่อสร้างการเข้าใจและร่วมมืออนุรักษณ์มากขึ้นด้วย 2.เหตุผลอะไรที่ทำให้คุณหันมาสนใจการถ่ายภาพมากขึ้น เป็นอุบัติเหตุค่ะ ฉันบังเอิญได้เข้ามารู้ว่าการถ่ายภาพเป็นเครื่องชั้นเยี่ยมสำหรับการสื่อสาร ก่อนหน้านี้ฉันไม่เคยคิดว่าจะเอาดีด้านถ่ายภาพมาก่อนแต่ก็ได้เรียนรู้ว่าการถ่ายภาพช่างดายเหลือเกินและสามารถใส่มุมภาพที่ซับซ้อนมากขึ้นก็ได้ทั้งไอเดีย เรื่องราวได้ง่าย ทำให้ต้องกลับเรียนสาขา ART Photography และ Digital Photography ที่ Corcoran College ใน วอชิงตัน ซึ่งได้เรียนเทคนิคในห้องมืด ภาพสี-ขาวดำ ซึ่งการเรียนในห้องเรียนทำให้เราได้รู้จักกับเหล่าศิลปินรุ่นใหม่หลายคนและได้แรงบันดาลใจในการถ่ายภาพและมีอิทธิพลต่องานของฉันด้วย 3.ช่างภาพหลายคนมักจะถ่ายวิว แฟชั่น บุคคลแต่ของคุณกลับถ่ายในสิ่งที่แตกต่างอย่างการถ่ายภาพใต้น้ำ … Read more

อดีต-ปัจจุบัน –อนาคต ของEddie Keogh ช่างภาพระดับตำนานกับการถ่ายภาพในงานฟุตบอลโลก

เคยมีช่างภาพกีฬาบางคนเคยกล่าวถึงช่วงเวลาเวทมนต์ที่มีเพียงเศษเสี้ยววินาทีที่ต้องกดชัตเตอร์ให้เร็วที่สุดเพื่อรูปภาพที่ดีที่สุดและภาพนั้นอาจจะกลายเป็นภาพแห่งประวัติศาสตร์ไปตลอดกาลก็ได้ อย่างเช่นช่างภาพระดับตำนานอย่าง  Eddie Keogh ผู้อยู่ข้างสนามหญ้ามาตั้งแต่อายุ 23 ผ่านการแข่งขันฟุตบอลโลกตั้งแต่ปี 1986 ที่ประเทศเม็กซิโก เขาเป็นหนึ่งในพยานข้างสนามกับเหตุการณ์ระดับโลกอย่าง “Hand of God” เมื่อมาราโดน่าใช้มือชกบอลในกรอบเขตโทษจนสามารถพาทีมอาร์เจนตินาล้มทีมสิงโตคำรามเข้าสู่รอบต่อไป Eddie Keogh เล่าภาพความทรงจำครั้งนั้นว่า “ผมกดชัตเตอร์ช้าไปมากทีเดียว ซึ่งภาพที่ผมได้มานั้นบอลออกจากมือเขาไปแล้ว แต่มันก็เป็นภาพที่น่าจดจำและจะไม่มีวันลืมเลือนแน่นอน เป็นความโชคดีของเอ็ดดี้ที่ได้มีโอกาสร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานมหกรรมฟุตบอลโลกและได้เก็บภาพสุดมหัศจรรย์มาตลอด และงานฟุตบอลโลกที่รัสเซีย ตัวเอ็ดดี้ก็ได้รับเลือกจาก FA (Football Association) ให้ติดสอยห้อยตามทีมชาติอังกฤษไปผจญภัยในรัสเซีย ซึ่งก่อนเขาไป นักเขียนจากเว็บไซต์ Shutter Stock จึงคว้าโอกาสเชิญช่างภาพใหญ่มาสัมภาษณ์ 8 ฟุตบอลโลกและอีกต่อไป จากสถิติที่ผ่านมาของเอ็ดดี้นั้นเขาเป็นช่างภาพที่ผ่านงานใหญ่ๆ มาแล้วตั้งแต่ปี 1986 เอ็ดเล่าให้ฟังถึงวันที่เขาต้องส่งรูปกลับไปที่กรุงลอนดอนว่า เขาต้องใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมงบนเตียงนอนในการล้างฟิล์ม จัดเก็บทุกอย่างให้พร้อมส่ง “คุณอาจคิดว่ามันง่ายแต่ตอนนั้นมันเป็นวันที่เครียดมากๆ”   ขณะที่กล้องดิจิตอลเข้าช่วยให้การถ่ายและการส่งภาพมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่มันก็ไปเพิ่มความคาดหวังของลูกค้าและผู้อ่านมากขึ้นไปด้วย “ตัวลูกค้าเองก็อยากจะสร้างบรรยากาศให้น่าสนใจ ส่วนเหล่าแฟนคลับและทีมต้องการจะเห็นภาพเด็ดทั้งการทำประตู เหตุการณ์สำคัญต่างๆ มันเป็นเรื่องของความเร็วที่มากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 1986,1990 และ 1994 ซึ่งการทำงานในปัจจุบันกับหนังสือพิมพ์รายวันนั้นต้องใช้อย่างน้อยสองภาพต่อวัน … Read more

ทางเลือกใหม่ของช่างภาพ On1 ทำอัพเดตใหม่รับไฟล์ RAW ได้สบาย

โดยทั่วๆไปเหล่าช่างภาพมักนิยมใช้โปรแกรมแต่งภาพมักจะเป็นของค่าย Adobe เป็นส่วนใหญ่ทั้ง lightroom Photoshop ด้วยความง่าย รวดเร็วและความนิยมในมุมกว้างทำให้ช่างภาพหลายคนเทใจให้กับเจ้าพ่อวงการโปรแกรมกราฟฟิค แต่ในปัจจุบันก็มีค่ายเล็กบริษัทใหม่เข้ามาหาส่วนแบ่งตลาดด้วยฟังก์ชั่นใหม่และขั้นตอนการทำงานที่ง่ายขึ้น เทคนิคหรือฟีเจอร์ใหม่ที่สร้างมิติใหม่ๆให้การทำภาพมากขึ้น อย่างโปรแกรมแต่งภาพ On1 ที่เริ่มทำพัฒนาและจัดจำหน่ายมาตั้งแต่ 2005 เป็นต้นมา ล่าสุดประกาศอัพเดตไฟล์ RAW ซอฟแวร์ใหม่ของทีมงาน ในเวอร์ชั่น ON1 Photo Raw 2018.5. โดยโปรแกรมอัพเดตรองรับไฟล์ RAW จากหลายค่าย อย่าง ฟูจิ โซนี่ เป็นต้น และยังย้อนการตั้งค่าของรูปไปตอนอยู่หลังกล้องโดยไม่มีปัญหากับภาพ โดยตัวซอฟแวร์ยังมีใส่ฟีเจอร์ Look-Up Tables (LUTs) ฟังก์ชั่นแต่งสีของสายวีดีโอมาช่วยให้การ grading  พร้อม LUTs อีกมากมายให้เลือกใช้ที่ลูกค้าสามารถปรับแต่งเองได้ และเวอร์ชั่นใหม่ของ On1 จะมีฟีเจอร์ซ่อนไฟล์ JPG จากการที่ช่างภาพชอบถ่ายโหมด RAW+JPG ซึ่งจะช่วยลดเวลาหาภาพในคลังภาพและยังสามารถเข้าไปปรับใช้ Metadataและความสามารถในการทำงานกับไฟล์ JPG ก็ดีเทียบเท่ากับไฟล์ RAW โดย On1 ยังสามารถรองรับรูปที่ถูกนำมาจาก Lightroom ได้ไม่มีปัญหาโดยโปรแกรมถูกออกแบบให้สามารถจัดการและบริหารภาพได้ดี … Read more

Harold Feinstein ช่างภาพหัวใจดนตรีกล่อมโลก

อพาร์ทเม้นท์หมายเลข 821 ของช่างภาพ Harold Feinstein ในช่วงวัยรุ่นที่อาศัยห้องเล็กๆ ในจัตุรัสตลาดดอกไม้ย่านชานเมืองของนิวยอร์ก สถานที่ที่อบอวลไปด้วยเสียงจอแจตามแบบฉบับตลาดที่ผู้ซื้อและผู้ขายต่างเจรจาราวกับวงดนตรีแจ๊สหลายสิบวงกำลังแข่งขันบรรเลงเพลงสุดขบถไม่ซ้ำแบบ ไม่มีธรรมเนียมกฎเกณฑ์ใดๆ ขวางกั้นจินตนาการราวกับว่าโลกดนตรีของพวกเขากว้างไกลไร้ขอบเขตและเสรี ภาพถ่ายก็คงไม่ต่างกันนักในสายตาของช่างภาพนิวยอร์กเกอร์ที่ต่อมาเขาจะบรรเลงเพลงผ่านภาพถ่ายให้คนทั่วโลกได้รู้จัก Jazz Scene ของ Harold Feinstein Harold Feinstein ช่างภาพชาวอเมริกัน พื้นเพเป็นคนนิวยอร์กแถว Coney Island ย่านชานเมืองที่อุดมไปด้วยความหลากหลายไม่ว่า แอฟริกา รัสเซีย อิตาลีและยังมีกลุ่มคนหลายศาสนามาอาศัยร่วมกันซึ่งเป็นผลดีของเขาที่จะได้ทำความรู้จักพร้อมรับรู้ประสบการณ์ที่หลากหลาย จากการเดินทางเที่ยวเล่นตามประสาเด็กที่มีงบวันละ 25 เซนต์ เมื่ออายุย่างเข้า 15 ปีชีวิตของ Harold ก็เลือกที่จะเลือกเดินทางสายช่างภาพที่เขาชอบ จากการฝึกฝนมากว่า 2 ปีทำให้เขามีงานแสดงภาพของตัวเองในแกลเลอรี่ชื่อดังอย่าง Manhattan Limelight Gallery  ในวัยเพียง 17 ปีเท่านั้น และอีก 6 ปีต่อมาเขาเข้าร่วมกองทัพเพื่อเข้าสู่สมรภูมิสงครามคาบสมุทรเกาหลีในฐานะช่างภาพสงครามครั้งแรก “ในตอนนั้นผมอยากเข้าร่วมสงครามในฐานะช่างภาพ ซึ่งโชคก็เข้าข้างผมเต็มๆ ผมได้เข้าร่วมกับกองทัพบกและได้พกกล้องติดตัวเดินทางตลอดการรับใช้ชาติ” Harold Feinstein รำลึกถึงความหลังในช่วงเวลาที่เขามีโอกาสได้เก็บภาพสงครามและผลงานของเขาได้รับการยกย่องในวงกว้างพร้อมกับการมีชื่อเสียงขึ้นมาทันที เมื่อกลับมาที่นิวยอร์ก บรรยากาศรอบเมืองกำลังอบอวลไปด้วยงานศิลปะแนว Abstract … Read more

80 ยังแจ๋ว!  Passing Time นิทรรศการภาพของช่างภาพชราชาวสิงค์โปร์

การได้มีโอกาสจัดนิทรรศการแสดงภาพถ่ายของตนเองถือว่าเป็นความใฝ่ฝันของช่างภาพหลายๆ คนเลยก็ว่าได้ เพราะไม่ใช่แค่ถ่ายรูปสวยเท่านั้น แต่เงินที่ต้องจ่ายไปนั้นไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว ทั้งค่าเช่าสถานที่ ค่าล้างรูปและอื่นๆจิปาถะที่ต้องจ่าย รวมไปถึงชื่อเสียงและเสน่ห์ของภาพที่ทุกคนมองแล้วต้องอุทานในความสวย ถือว่าไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะทำนิทรรศการภาพให้สมใจคนถ่ายแต่สำหรับช่างภาพสมัครเล่นวัย 80 ปี ที่ตอนนี้เขาได้ความฝันนั้นมาครองจากการถ่ายภาพสิงคโปร์มากว่า 50 ปีภายใต้ชื่อนิทรรศการ Passing Time โดยงานนี้ objectifs แกลเลอรี่ด้านภาพถ่ายจัดแสดงเองเลยทีเดียว Lui Hock Seng ช่างภาพขิงแก่ไฟแรง Lui Hock Seng ชายชราวัย 80 ปีประกอบอาชีพหลักเป็นพนักงานทำความสะอาดที่ตึก Singapore Press Holdings พร้อมพกอาชีพเสริมคือช่างภาพสมัครเล่นที่มักจะรับงานถ่ายภาพแต่งงาน โดยเขาฝึกถ่ายภาพมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1950  สมัยลุง Lui ยังหนุ่มเขามักจะพกกล้องถ่ายภาพตัวเก่งของเขาออกตะเวนเก็บภาพในสถานที่ต่างๆ ที่เขาไปในสิงคโปร์ แม้บางสถานที่ในภาพอาจจะหายไปตามกาลเวลาหรือเปลี่ยนแปลงไปจนจำไม่ได้ แต่ภาพถ่ายจากฟิล์มสีเนกาทีฟของลุงกลับชุบชีวิตเรื่องราวในอดีตให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิถีชีวิตของชาว kampong ที่มักจะอาศัยอยู่ในประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซียและสิงคโปร์ที่ปัจจุบันปรับเปลี่ยนชีวิตจนกลมกลืนไปกับคนท้องถิ่นแล้ว ซึ่งภาพถ่ายของลุง Lui ทำให้เราได้เห็นภาพในอดีตนั้นกลับมาอีกครั้ง หรือแม้แต่พ่อค้าเนื้องูในเขตไชน่าทาวน์ที่ปัจจุบันก็หาดูได้ยากเช่นกัน และอาชีพรับจ้างเขียนจดหมายเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่หายไปหลายสิบปีหลังจากการศึกษาเข้าถึงผู้คนทุกชนชั้น ซึ่งภาพถ่ายของ Lui Hock Seng ถ่ายทอดเรื่องราวในอดีตและความทรงจำที่น่าประทับใจไว้ได้อย่างสวยงามและทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์ แม้ทุกวันนี้ลุง … Read more

ท้ามาก็จัดให้ Canon สร้าง lens โคตรเทเลระยะ 50-1000 mm หลังโดนท้ามากว่า 6 ปี

เสียเงินไม่ว่า เสียหน้าต้องไม่มี ถือว่าเป็นคติประจำใจของใครหลายๆ คนเวลาโดนคนเพื่อนหรือคนอื่นมาท้าทายเหยียบจมูกกันซึ่งหน้า  และงานนี้ Canon ค่ายกล้องรายใหญ่ก็ไม่มีข้อยกเว้นหลังจากโดนช่างวีดีโอสายสารคดีสัตว์ป่าออกมาท้าทายให้กล้องหนอนผลิตเลนส์ครอบจักรวาลที่ตนไม่ต้องมานั่งเปลี่ยนเลนส์ให้วุ่นวายและขอแบบคุณภาพดีสมชื่อค่ายใหญ่เมื่อปี 2010 ทำเอาแคนอนนอนก่ายหน้าผากกับคำท้าสุดแสบที่ช่างภาพท้ามา ซึ่งในตอนนั้นทางแคนอนนำคำท้ากลับไปนอนคิดพร้อมซุ่มทำเลนส์ดังกล่าวมาตลอดจนเวลาผ่านไปถึง 6 ปี วันนี้พวกเขามาพร้อมกับเลนส์ Canon CINE-SERVO 50-1000mm T5.0-8.9 และส่งของไปให้ช่างภาพสุดแสบต้นเรื่องได้ลองใช้กัน โดยงานนี้แคนอนก็ไม่พลาดปล่อยวีดีโอที่ได้จากเลนส์ใหม่มาให้ชาวโลกได้ชมกัน เรื่องราวความบันเทิงครั้งนี้เริ่มต้นจากช่างวีดีโอสายสัตว์ป่านามกระเดื่องแดนเมืองเบียร์ Ivo Norenberg วัย 48 ปี ที่เริ่มมีสร้างชื่อเสียงให้กับตนเป็นที่รู้จักในระดับโลกกับสารคดีชื่อ Russia – In the kingdom of tigers, bears and volcanoes เรื่องราวของเสือและหมีในดินแดนรัสเซียเมื่อปี 2011 และยังเดินหน้าคว้ารางวัลหลายสิบรางวัลกับผลงานของเขาที่ทยอยออกให้แฟนๆได้ชมต่อเนื่อง ไม่ว่าเป็น Best Nature / Environment / Wildlife Film และ Best Cinematography ถือได้ว่าเขาเป็นช่างภาพสุดป๊อปของวงการสารคดีเลยทีเดียว และในปี 2010 เขาเองที่เป็นต้นเรื่องถามมาทางแคนอนว่าพวกเขาพอจะทำเลนส์ระยะครอบจักรวาลที่เป็นเหมือนเลนส์ในฝันของช่างภาพสัตว์จะได้ไหม แน่นอนว่าแคนนอนพร้อมคุยโปรเจ็กต์นี้ทันที โดยในช่วงแรกของการพูดคุยสเปคที่ทาง Norenberg … Read more