ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า Blue Moon ไม่ได้แปลว่าดวงจันทร์สีฟ้า แต่หมายถึงมีดวงจันทร์เต็มดวงสองครั้งใน 1 เดือนโดยขณะเกิดจันทรุปราคา ดวงจันทร์จะมีสีแดง (Blood Moon) เกิดจากแสงโทนแดงมีอำนาจทะลุทะลวงสูงกว่าแสงโทนน้ำเงินอื่นๆ จึงสะท้อนจากดวงอาทิตย์มาโลกได้ดีกว่าช่วงเวลาเดียวกันนี้ดวงจันทร์จะมีวงโคจรอยู่ใกล้โลกมากที่สุด ทำให้เราเห็นดวงจันทร์มีขนาดปรากฏบนโลกใหญ่กว่าปกติ เรียกว่า Super Moon โดยจะมีขนาดใหญ่ขึ้น 14% เมื่อเทียบกับเวลาที่วงโคจรห่างโลกมากที่สุด ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงในวันที่ 31 มกราคม 2561 ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลกตั้งแต่ เวลา 17:51 น. จากนั้นค่อยๆ เคลื่อนเข้าสู่เงามืดของโลก เกิดเป็นจันทรุปราคาบางส่วนใน เวลา 18:48 น. เข้าสู่จันทรุปราคาเต็มดวงตั้งแต่ เวลา 19:51 – 21:07 น. คิดเป็นระยะเวลาจันทรุปราคาเต็มดวงนาน 1 ชั่วโมง 16 นาที ขณะที่ดวงจันทร์อยู่ในเงามืดของโลกเต็มดวง จะมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดงอิฐทั้งดวง สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าในทุกภูมิภาคของประเทศ เมื่อสิ้นสุดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงหลัง เวลา 21:07 น. ไปแล้ว ดวงจันทร์จะเริ่มออกจากเงามืดของโลกเข้าสู่การเป็นจันทรุปราคาบางส่วนอีกครั้ง จนกระทั่งออกจากเงามืดของโลกหมดทั้งดวงใน เวลา 22:11 น. แล้วเปลี่ยนเป็นจันทรุปราคาเงามัวที่จะสังเกตเห็นได้ยาก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงความสว่างของดวงจันทร์จากเงามืดของโลกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และสุดท้ายดวงจันทร์จะพ้นจากเงามัวของโลกเวลา 23:08.น. ถือว่าเป็นการสิ้นสุดปรากฏการณ์จันทรุปราคาในครั้งนี้โดยสมบูรณ์ ในการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาในครั้งนี้ ดวงจันทร์ยังคงอยู่ในระยะทางที่ไม่ห่างจากโลกมากนัก จึงทำให้เราสังเกตเห็นดวงจันทร์ขณะเกิดปรากฏการณ์มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าดวงจันทร์ช่วงปกติเล็กน้อย ซึ่งนักดาราศาสตร์บางกลุ่ม เรียกปรากฏการณ์ครั้งนี้ว่า … Read more