แคนนอนอาสา แชร์รอยยิ้มผ่านรูปติดบัตรนักเรียน

กรุงเทพฯ 30 กันยายน 2562 – มร.ฮิโรชิ โยโกตะ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด นำทีมพนักงานกลุ่มบริษัทแคนนอนในประเทศไทย จัดกิจกรรมแคนนอนอาสาครั้งที่ 24 ภายใต้แนวคิด Canon C-Spirit สร้างรอยยิ้มและแรงบันดาลใจให้เยาวชนด้วยการถ่ายภาพ โดยอาสาสมัครแคนนอนได้ร่วมถ่ายและพิมพ์ภาพติดบัตรแบบสีให้แก่นักเรียนและคุณครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล นอกจากนี้ยังร่วมทำกิจกรรม อาทิ การสอนถ่ายภาพเบื้องต้น การให้ความรู้ด้านโภชนา และการปลูกผักสวนครัว การผลิตถังขยะรีไซเคิลเพื่อปลูกฝังนิสัยรักการแยกขยะให้แก่เยาวชน ตลอดจนการบริจาคคอมพิวเตอร์ เครื่องเขียนและอุปกรณ์กีฬา ฯลฯ กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุงศักดิ์ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา

สมาคมถ่ายภาพฯ จับมือพันธมิตรผลักดันวงการถ่ายภาพโดรนผ่านงาน Innovation Thailand photo contest 2019

เรียกว่าเป็นครั้งแรกในเมืองไทยที่มีจัดการประกวดภาพถ่ายจากโดรนอย่างเป็นทางการระดับประเทศในเมืองไทย ภายใต้การจับมือของสามพันธมิตรทั้ง สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยนเรศวรและสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติภายใต้แนวคิดนวัตกรรมการท่องเที่ยว หวังปลุกสังคมนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้มากขึ้น ซึ่งทั้งสามองค์กรตั้งใจผลักดันให้การใช้โดรนเพื่อการถ่ายภาพนั้นมีความนิยมและใช้งานอย่างถูกต้องมากขึ้นเพื่อยกระดับวงการถ่ายภาพให้หลากหลายมากขึ้น งานนี้ fotoupdate มีโอกาสได้พูดคุยกับกับผู้ใหญ่ใจดีที่ผลักดันการถ่ายภาพโดรนให้ฉายแสงในประเทศไทยมากขึ้น ดร. กริชผกา  บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เราจัดแข่งขันโดรนเพื่อถ่ายภาพส่งเข้าประกวด เป็นเรื่องท้าทายที่จะได้มุมมองที่แปลกใหม่ และตอนนี้ราคาโดรนในตลาดเริ่มมีราคาที่ย่อมเยาหลายคนสามารถสัมผัสได้ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นที่เราจะนำเทคโนโลยีมาใช้ในมุมต่างๆมากขึ้นอย่างครั้งนี้จะเป็นมุมในการท่องเที่ยว แต่โดรนเองตอนนี้จะมีขอบเขตและกฎหมายกำหนดเขตที่ห้ามบิน ซึ่งหากปล่อยเสรีมากเกินไปจะทำให้เกิดเกิดอุบัติเหตุ ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ความมั่นคงและเรื่องอื่นๆด้วย ซึ่งผู้ใช้งานโดรนต้องมีเข้าใจในทางกฎหมาย ซึ่งการต่อยอดของเราตอนนี้ คือพยายามให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลและง่ายต่อการอนุญาตมากขึ้น ซึ่งเราพร้อมที่จะผลักดัน  ด้าน ผศ.นพ. ยุทธพงศ์ พุทธรักษา ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่าทางมหาวิทยาลัยเริ่มต้นผลักดันการใช้โดรนเพื่อการถ่ายภาพมาพอสมควรเพราะกลุ่มอาจารย์ของเราทำงานที่  Gistda (สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)) และช่วงนั้นมีทุนจากทางภาคเรื่องของ innovation Hub เข้ามา ทางทีมงานของเราอยู่ในสายเทคโนโลยีและชอบถ่ายภาพ เราจึงมีความคิดที่จะช่วยกันทำโครงการนักบินสร้างภาพกันไหม โดยมองไว้ที่สองประเด็นคือทำในเชิงศิลปะกับบินอย่างไรไม่ให้รบกวนคนอื่น และร่วมกันเฝ้าระวังภัยขึ้นมาซึ่งแนวคิดเริ่มต้นทางเราเห็นว่าทางสำนักงานนวัตกรรมมีโครงการนี้เราจึงมาร่วมมือกันจัดงานนี้เพื่อต้องการให้เกิดการนำเทคโนโลยีมาต่อยอดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ โดยตอนนี้เรานำโดรนตัวเล็กอย่าง Tello ลงไปสอนเด็กๆ มัธยม ทั้งการเขียนโค้ดและงานศิลปะ ซึ่งได้ผลตอบรับที่ดี  ในด้านกฎหมายเราพยายามผลักดันให้เกิดใบอนุญาตการใช้โดรนแต่ละประเทศ อย่างใช้โดรนเพื่อถ่ายภาพ เพื่อการเกษตรและอื่นๆ ซึ่งในต่างประเทศมีการแบ่งประเภทแล้ว  ทางเราพยายามสร้างมาตรฐานให้คนใช้โดรนมีความเข้าใจและเป็นอาชีพมากขึ้น ซึ่งเราจะพัฒนาฝีมืออาชีพมากขึ้น  ด้านฝั่งคนที่ทำงานกับช่างภาพอย่าง คุณอดุล ตัณฑโกศัย กรรมการบริหารสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวถึงการส่งเสริมการใช้โดรนว่า จากที่ผมพอจะทราบมาว่ามีหน่วยงานรัฐที่กำลังสร้างแอพลิเคชั่นที่ช่วยในการทำเรื่องขอขึ้นบินให้ง่ายขึ้นและมีแอพลิเคชั่นที่ตรวจสอบว่าพื้นที่ส่วนไหนต้องขออนุญาตบินหรือไม่ ส่วนทางสมาคมกำลังวางแผนจัดงานใหญ่เพื่อส่งเสริมการถ่ายภาพโดรนในเร็วๆ นี้แน่นอนและยังมีหลายโครงการที่จับมือกับหลายหน่วยงานเพื่อส่งเสริมการถ่ายภาพโดรนแน่นอน ถ้าเป็นไปได้อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลองศึกษาจากประเทศจีนที่ให้เสรีบินโดรนในสถานที่ท่องเที่ยว แต่อย่างไรก็ตามภาครัฐต้องศึกษาความเป็นไปได้ก่อน   ส่วนช่างภาพผู้ใช้โดรนถ่ายภาพ นายสุริยา ผลาหาญ กล่าวถึงรางวัลได้รับการแข่งขันครั้งนี้ว่า “ภาพนิ่งที่ได้รับรางวัลครั้งนี้ได้สองรางวัล รางวัลแรกที่สามในสาขากล้อง DSLR จะเป็นมุมระนาบ ซึ่งเราต้องการถ่ายทอดความสวยงามของธรรมชาติและวิถีชีวิตของชุมชนออกมา ส่วนรูปรางวัลชมเชยจะเป็นที่เดียวกันแต่ถ่ายจากโดรนครับ” ก่อนจะกล่าวถึงข้อดีของการใช้โดรนถ่ายภาพว่า โดรนถือว่าเป็นเครื่องมือที่เปิดมุมมองใหม่ๆให้ตนได้มากพอสมควรเพราะ DSLR เองบางครั้งจะมีอุปสรรคการถ่ายภาพในมุม Bird’s eye view สวนทางกับโดรนที่จะมีอิสระในเรื่องนี้มากกว่า เรียกว่าเพิ่มโอกาสในการได้มุมมองแปลกใหม่มากขึ้น ซึ่งตนเองมองว่าถ้าภาครัฐอยากจะสนับสนุนการใช้โดรนอาจจะพิจารณากฎบางจุดให้สอดคล้องกับช่างภาพมากขึ้นจะช่วยให้วงการถ่ายภาพโดรนเติบโตมาก แต่ด้านของช่างภาพเองก็ต้องมีความรับชอบต่อสังคมและเข้าใจกฎระเบียบเพื่อจะได้ไม่ไปสร้างปัญหาแก่รวม    ทั้งนี้การจัดการประกวดภาพถ่ายนวัตกรรม “Innovation Thailand Photo Contest 2019” จะยังคงดำเนินต่อไปและพันธมิตรพร้อมที่จะผลักดันให้การถ่ายภาพด้วยโดรนนั้นเติบโตและสร้างสรรค์สิ่งดีงามแก่สังคมต่อไปอย่างแน่นอน