ในปี2013 Chris Hadfield นักบินอวกาศแคนาดา เป็นชาวแคนาดาคนแรกที่เดินทางในอวกาศ ได้บันทึกวีดีโอภารกิจในขณะกำลังปฏิบัติการถ่ายภาพบนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ตลอดภารกิจเขา Chris Hadfield ได้ถ่ายภาพโลกที่น่าทึ่งที่สุดที่เคยเห็น และเขาแบ่งปันเทคนิคนี้สำหรับผู้ที่หลงรักในการท่องอวกาศ
เขาบอกว่าหลักการง่ายๆในการปฏิบัติการถ่ายภาพขณะอยู่บนยานคือ 3 อย่าง
1.การโฟกัส
2.การวางเฟรม
และยิง
เอาละ มาเข้าเรื่องเทคนิคกันดีกว่า
Chris Hadfield บอกถึงอุปกรณ์ที่เขาใช้คือเลนส์ขนาดความยาวโฟกัส 400 มม. ด้วยเหตุผลที่ว่าสถานีกำลังโคจรเหนือโลกในระยะ 400 กิโลเมตร จำเป็นต้องใช้เลนส์ระยะไกลๆ เพื่อจับภาพ
และเมื่อพูดถึงการตั้งค่ากล้อง โดยปกติแสงจากดวงอาทิตย์จะฉายไปยังโลกทำให้เกิดความสว่างมาก ซึ่งในทางเดียวกันอวกาศนั้นมืดสนิท กล้องจะเกิดความสับสนหากใช้โหมดการถ่ายภาพแบบอัตโนมัติ จึงใช้ได้เฉพาะโหมด Manual โดยไม่สามารถใช้การวัดแสงอัตโนมัติจากกล้อง
ซึ่งการวัดแสงจะทำโดยการใช้กฎ Sunny 16 ซึ่งเป็นกฎการวัดแสงพื้นฐาน ที่มีมาตั้งแต่สมัยยุคฟิล์ม Chris Hadfield ตั้งค่าที่ F/16 และ ISO 200 ซึ่งเป็นความสว่างที่มากพอ และบันทึกเป็นไฟล์ RAW
Chris Hadfield เล่าว่า เวลาที่เหมาะสมแก่การถ่ายภาพ Landscape นั้นคือเที่ยงตรงของแต่ละสถานที่ เพราะแสงแดดจะส่องลงมาเป็นเส้นตรง เป็นช่วงที่มีแสงเข้มมากที่สุด แดดจะฉาบบนพื้นผิวโลกจนเงาหายไป ซึ่งดีต่อการเก็บรายละเอียดต่างๆ
ผลงานบางส่วนของ Chris Hadfield
แต่ Chris Hadfield อธิบายว่ามันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น การอยู่สถานีอวกาศนั้นทำให้การเดินทางเท่ากับ 8 กม/ชม ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นมุมการถ่ายภาพจะเปลี่ยนตลอดเวลา มีบางช่วงที่โลกกับพระอาทิตย์ขนานกันพอดี
จนเกิดเป็นประกายแสงจากการสะท้อนของผิวโลก ซึ่งเป็นความสวยงามที่เห็นได้ยากอย่างนึง
แต่บางครั้งมุมที่สวยก็อาจจะไม่เกอดขึ้นในทันที ต้องใช้เวลารอ อาจจะเป็นวันพรุ่งนี้ เป็นสัปดาห์หน้า แม้กระทั่งเดือนหน้าจากตอนนี้
“ซึ่งมันไม่ใช่การแข่งขันถ่ายภาพ คุณจึงต้องอดทนและรอดั่งเสือที่ออกล่า” Chris Hadfield ได้กล่าวท้าย
ที่มา : chrishadfield.ca