โป๊ะแตก! Iphone ใช้เสียงกล้องจาก Canon

สำหรับสาวกแอปเปิ้ลคงเคยได้ยินมาหลายพันครั้ง สำหรับเสียงกล้องชัตเตอร์ของ iPhone เคยสงสัยมั้ยว่า มันมาจากไหน? Sosumi หรือ เสียงชัตเตอร์กล้องIphone สร้างขึ้นโดย Jim Reekes นักออกแบบเสียงของแอปเปิ้ล ในปี 1980 ในการให้สัมภาษณ์ล่าสุด กับ CNBC Jim Reekes ได้เปิดเผยว่า เป็นเสียงจากกล้องฟิล์มจากยุค 1970 ซึ่งเขาเคยเป็นเจ้าของในสมัยที่ตัวเองยังอยู่มัธยม เสียงกล้อง Iphone และ เสียงจับภาพหน้าจอ Mac ล้วนมาจาก Canon AE-1 ที่สร้างเสียงที่เรารู้จักและคุ้นเคยในทุกวันนี้ โดยบันทึกเสียงการทำงานของกล้องในตอนที่ถ่ายภาพความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ  หน้าตาของ Canon AE-1 เจ้าของเสียงที่เราคุ้นเคยในIphone ทุกวันนี้ Jim Reekes ให้สัมภาษณ์แบบติดตลกว่า “ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงคนถ่ายรูปกับ iPhone มันก็เหมือนกับว่าพวกเขากำลังใช้กล้องถ่ายรูปของฉัน มันทำให้ฉันประหลาดใจแม้กระทั่งจนถึงวันนี้ และเมื่อได้ยินเสียงนั้น ฉันก็มองหาว่า ใครกันนะที่ขโมยกล้องของฉัน?” ทุกวันนี้แม้ว่าเขาจะออกจากAppleในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 และเป็นที่ปรึกษาอยู่ในวงการออกแบบเสียง แต่เขาก็ยังชอบผลงานของเขา ในการพูดคุยกับคนแปลกหน้าทุกครั้งเขามักจะบอก “เฮ้! ฉันเป็นคนทำเสียงนี่เองแหละ!” คลิปการให้สัมภาษณ์ ที่มา : … Read more

ออเจ้าจงดูความแรงนี้!!! ถ่ายภาพต่อเนื่อง 177 รูป A7III ทำได้

A7III เจ้ากล้องกระแสมาแรง แซงทุกค่ายที่สุดในตอนนี้ หลายๆคนตอนนี้ก็เริ่มจับจองเป็นเจ้าของกันหลายท่านแล้ว และยังมีอีกหลายท่านที่โดนป้ายยากันถ้วนหน้า fotoupdate ก็ขอร่วมด้วยอีกคนนะครับ 😋 A7III แต่เดิมนั้นมีสามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้ 10 ภาพ/วินาที โดนขีดจำกัดสูงสุดนั้นคือ สามารถลากยาวได้ถึง 177 ภาพสำหรับไฟล์ JPGs และ 89 ภาพสำหรับไฟล์RAW ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่เยอะพอสำหรับกล้องราคาเพียง 68,990 บาท ที่มีความสามารถขนาดนี้ ในขณะที่รุ่นพี่อย่าง A7RIII ทำได้เพียง 76 ภาพเท่านั้น และยังใช้เวลาในการประมวลภาพมากกว่า (เนื่องจากไฟล์ภาพมีขนาดใหญ่กว่านั่นเองครับ) แต่ก็ยังไม่อาจเทียบพี่ใหญ่ A9 ที่สามารถทำได้ถึง 241 ภาพสำหรับไฟล์RAW และ 362 ภาพสำหรับไฟล์JPEGs จะเป็นอย่างไรไปชมจากวีดีโอกันเลย จากวีดีโอจะเห็นว่าใช้เวลา 25 วินาที สำหรับการถ่ายภาพ 126 รูป และยังใช้เวลาอีก 45 วินาทีในการประมวลภาพอีกด้วย โดยใช้การ์ด SanDisk Extreme Pro UHS-I 32GB SDHC เป็นยังไงกันบ้างครับ เทคโนโลยีใหม่นี่สุดยอดจริงๆ สำหรับใครที่ติดตามข้อมูลข่าวสารของ A7III อยู่ … Read more

นอกกรอบกันไหมหล่ะ? เรียนจบทั้งทีต้องไม่ธรรมดา ปีนเขาถ่ายรูปกันดีกว่า

เมื่อเรียนจบ ใครๆก็อยากถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก อาจจะถ่ายกับเพื่อนร่วมชั้นที่เรียนด้วยกันมา หรือครอบครัวที่เรารัก แต่บางทีก็อยากได้สถานที่สวยๆนอกจากมหาวิทยาลัยของตัวเอง จึงว่าจ้างช่างภาพไปตามสถานที่ที่ตัวเองคาดหวังเอาไว้ นั่นคือการไปถ่ายรูป “นอกรอบ” นั่นเองครับ คราวนี้ มีกลุ่มนักศึกษาทั้ง 14 คนจาก University of Applied Sciences and Arts ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เลือกสถานที่นอกรอบเป็น ยอดเขา Pierre Avoi บนเทือกเขาเอลป์ ที่มีความสูง 8,114 ฟุต จากระดับน้ำทะเล ว้าว!!! พวกเขาทั้ง 14 คน ถึงกับต้องมีการซ้อมปีนเขา ในมหาวิทยาลัยตัวเอง โดยการทดสอบกับตึก 4 ชั้น และเมื่อวันถ่ายรูปมาถึง พวกเขาได้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปบนภูเขาและไต่ขึ้นไปยังจุดถ่ายภาพ หลังจากติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมด พวกเขาเริ่มไต่ลงมาถ่ายภาพ พร้อมกับช่างภาพ โดยแขวนตัวเองไว้บนเชือก ลองดูวิวบนนั้นสิ ว้าว!!! อ้าว ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกกันหน่อยยย…. โดยพวกเขาเรียก โปรเจคนี้ว่า “the highest class picture.” สำหรับบัณฑิตท่านนใดที่กำลังหา ไอเดียถ่ายภาพนอกรอบ นี่ก็เป็นไอเดียที่ดีนะครับบ ที่มา : … Read more

รู้หรือไม่? เลนส์ที่มีค่ารูรับกว้างที่สุดในประวัติศาสตร์การถ่ายภาพคือเลนส์อะไร

มาเข้าใจเรื่องพื้นฐานการถ่ายภาพกันก่อน เพื่อไม่ให้สับสน รูรับแสงในเลนส์ที่เรียกกันว่า “ไดอะเฟรม” หรือ “ไอริส” เป็นชิ้นส่วนกลไกที่ออกแบบให้เป็นช่องปรับเปลี่ยนขนาดได้ ซึ่งสามารถนำมาใช้ควบคุมปริมาณของแสงที่ผ่านเลนส์ รูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์คือสองวิธีการหลักในการควบคุมการเปิดรับแสง แสงสลัวจะต้องการรูรับแสงที่กว้างขึ้นเพื่อช่วยให้แสงตกกระทบระนาบเซนเซอร์ภาพมากขึ้น ในขณะที่แสงที่สว่างกว่าจะต้องการรูรับแสงที่เล็กลงเพื่อให้ได้รับแสงในปริมาณที่เหมาะสมที่สุดตามความเร็วชัตเตอร์ที่กำหนด อีกวิธีหนึ่งคือ คงการตั้งค่ารูรับแสงไว้เหมือนเดิม แล้วเปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่คล้ายกัน แต่ขนาดช่องเปิดที่รูรับแสงมีให้ยังเป็นตัวกำหนดว่าแสงที่ผ่านเลนส์นั้น “ขนาน” กันมากเท่าใด จึงมีผลกระทบต่อระยะชัดลึกโดยตรง ดังนั้นคุณจะต้องควบคุมทั้งรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์เพื่อสร้างภาพที่มีลักษณะในแบบที่คุณต้องการ เลนส์ทุกตัวมีรูรับแสงสูงสุดและต่ำสุดโดยแสดงเป็น “F-number” เราจะใช้เลนส์ 35 มม. F1.4 เป็นตัวอย่าง โดยที่ 35 มม. คือความยาวโฟกัส และ F1.4 คือรูรับแสงสูงสุด F-number ที่น้อยจะมาพร้อมกับรูรับแสงกว้าง และ F1.4 น่าจะเป็นรูรับแสงสูงสุดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่คุณจะพบเห็นได้ในเลนส์เพื่อการใช้งานทั่วไปก็เพียงพอแล้ว เลนส์ที่มีรูรับแสงสูงสุดที่ F1.4, F2 หรือ F2.8 โดยทั่วไปแล้วถือว่า “เร็ว” หรือ “สว่าง” คราวนี้ในประวัติศาสตร์การถ่ายภาพ เลนส์ที่ความสว่างมากที่สุด คือ f/0.33 ว้าว!!! คิดดูว่ามันจะสว่างขนาดไหน ย้อนกลับไปในปี 2554 ในการประมูลกล้องที่มีชื่อเสียงอย่าง … Read more

กว่าจะได้ภาพขนาด 400 เมกะพิกเซลต้องทำอย่างไร?

ในเดือนมกราคม Hasselblad ได้เปิดตัวกล้อง H6D-400c ซึ่งเป็นกล้อง Medium Format ที่สามารถขยับเซนเซอร์ถ่ายภาพซ้อนหลายๆภาพเพื่อสร้างภาพขนาด 400 เมกะพิกเซล PDN แมกกาซีนภาพถ่ายชื่อดังรายหนึ่ง ได้ทำการทดสอบ H6D-400c ที่สำนักงานใหญ่ของ DJI ในเมืองนิวยอร์ก (DJI เป็นเจ้าของ Hasselblad) Dan Wang ผู้ทำการทดสอบได้อธิบายว่า “เมื่อใช้การถ่ายภาพ Multi-Shot การสั่นไหวของกล้องเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่สุด แม้ว่ากล้องจะถูกล็อคลงบนขาตั้งที่มีขนาดใหญ่มาก การสั่นสะเทือนจากสถานที่ก่อสร้าง รวมถึงการจราจรบนท้องถนนที่นิวยอร์ก ก็อาจทำให้มีการสั่นสะเทือน ทำลาย Multi-Shot จนเสียหมด ไม่เพียงเฉพาะการสั่นไหว ทำให้ภาพเบลอขนาด 400 ล้านพิกเซล ฝุ่นละอองในอากาศที่มากระทบกับแสงแฟลชก็มีผลเช่นกัน ไม่แค่นั้นแม้แต่ผมเส้นเดียวหรือเศษเล็กๆก็ทำลายภาพได้เช่นกัน ” เขายังบอกอีกว่า “สถาบันต่างๆอย่างเช่น พิพิธภัณฑ์ ที่ซื้อหรือทดสอบ H6D-400c ต้องแยกกล้องออกจากสภาวะแวดล้อมที่มีปัจจัยเหล่านั้น เช่นสถาบันในยูเครนเลือกสถานที่เป็นบังเกอร์ในยุคสงครามเย็น ” กลับมาเข้าเรื่องกล้องก่อน แม้จะมีการถ่ายโอนข้อมูลเป็นจำนวนมากก็ตาม กระบวนการถ่ายภาพหลายภาพก็ไม่ใช้เวลานานนัก   จากวีดีโอได้ใช้ สาย Tethered USB-C ในการถ่ายโอนไฟล์ภาพขนาด 2.6GB เข้าสู่โปรแกรม Phocus เพียงไม่กี่วินาที Dan … Read more

ไม่มีอุปกรณ์แฟลชเสริม ไม่ใช่ปัญหา… แสงธรรมชาติคือปัจจัยหลัก

Walid Azami ช่างภาพชาวอเมริกา มีเทคนิคเล็กๆน้อยๆ อยากแนะนำสำหรับช่างภาพด้วยกัน ถึงการใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ให้มากที่สุด ลดการพึ่งพาอุปกรณ์ และสนใจเทคนิคให้มากขึ้น เขากล่าวว่า “ในฐานะช่างภาพที่เรียนรู้ด้วยตัวเอง ผมได้รับความรู้จากการดูช่างภาพคนอื่น ๆ แต่ละคนมีสไตล์ที่แตกต่างกัน บางคนก็มีเทคนิคและสัญชาตญาณ แต่ละคนก็เป็นศิลปินเหมือนกัน ไม่มีการถ่ายภาพครั้งใดที่ทำได้ดีเสมอ และทุกครั้งที่ผมเห็นช่างภาพกำลังทำงาน ผมก็จะหยุดและดูพวกเขาทำงาน ช่างเป็นเกียรติที่ได้เห็นศิลปินกำลังทำงาน” Walid เรียนรู้เทคนิคนี้จะการสังเกตของเขาเอง เอาละเข้าเรื่องเทคนิควิธีการทำงานของเขาดีกว่า ให้สังเกตช่วงเวลาและท้องฟ้า ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ จากนั้นกำมือในลักษณะดังภาพ ยื่นไปทางดวงอาทิตย์ แล้วหมุนรอบตัวเอง สังเกตแสงที่กำมือ นั่นคือการจำลองแสงที่ใช้ถ่ายภาพ เมื่อเลือกตำแหน่งการจัดแสงได้แล้ว ให้ดูส่วนที่แสงตกกระทบ จะเป็นส่วนบอกเล่าเรื่องราวของภาพ เน้นให้ถูกจุดล่ะ ให้สังเกตภาพทั้ง2ด้านบน ที่นายแบบหันหลังให้ ภาพแรก Walid เลือกจุดที่แสงกระทบใบหน้า ทำให้ใบหน้าของนายแบบเป็นจุดเด่นสุดใน ภาพที่2เขาเลือกจุดที่แสงตกกระทบบนแผ่นหลังมากกว่า ทั้ง2ภาพล้วนโพสต์ท่าใกล้เคียงกันแต่อารมณ์ภาพต่างกันโดยสิ้นเชิง แล้วก็อย่าลืมถ่ายภาพให้หลากหลายมุม ทั้งมุมสูงและต่ำ เพื่อเรามีตัวเลือกภาพที่ถูกใจมากขึ้น และสิ่งสำคัญอีกอย่างที่ Walid บอกคือ หากคุณถ่ายภาพกับนายแบบหรือนางแบบ อย่าลืมที่จะสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดกัน จะช่วยลดความตึงเครียด ผ่อนคลายระหว่างการทำงานได้ดีขึ้น ที่มา : Fstopper    

จะเป็นยังไง!!! ถ้านำกล้องไปตั้งถ่ายภาพจรวดที่กำลังทะยานขึ้นท้องฟ้า

John Kraus ช่างภาพสำนักข่าว ประจำอ่าว Canaveral ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ตั้งกล้องถ่ายภาพจรวด Atlas V ที่กำลังออกตัวทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า จากสถานี Space Launch Complex 41 และมันเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดขึ้น !!! ก่อนเกิดเหตุการ์ณนี้ John เล่าว่าเขาได้ใช้กล้อง Nikon D7000 พร้อมเลนส์ Nikon 80-200mm f/2.8 ตั้งกล้องระยะห่างจาก จรวดประมาณ 500-600 ฟุต คลุมทั้งกล้องและเลนส์ด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันอันตรายจากจรวด ในขณะที่เขากำลังถ่ายภาพใบนี้ ซึ่งตัวเขาเองยังรู้สึกไม่พอใจในระยะที่เขาถ่ายมา John จึงใช้เลนส์ 8mm Rokinon fisheye ในระยะห่างจากจรวดเพียงแค่ 300 ฟุต !!! เขาจึงได้ภาพสุดอลังการนี้มา โดยการตั้งรีโมทถ่ายภาพต่อเนื่อง ภาพนี้ถ่ายได้เมื่อวินาทีที่ 15 นี่คือภาพถัดมาอีก 5 วินาที  วินาทีที่ 26… 11 วินาที หลังจากภาพแรก จากภาพจะเห็นเลยว่ากล้องเต็มไปด้วยคราบและรอยน้ำ จากการที่ไอพ่นจรวดเป่ากระจุยกระจาย   นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น กับกล้องของ … Read more

ยังคงดุเดือด!!! A7III ถ่ายภาพในที่แสงน้อยดีแค่ไหน อยากรู้ต้องอ่าน…

Max Yuryev ช่างภาพและนักสร้างภาพยนตร์ เพิ่งจะทำการทดสอบบางอย่าง กับกล้องที่กำลังเป็นกระแสมากที่สุดในตอนนี้ Sony A7III
โดยเขานั้นได้ ทดสอบถ่ายภาพในที่แสงน้อย ประชันกับ กล้องรุ่นพี่สุดเก๋าอย่าง A7RIII และ A6500 แถมยังมีกล้องสายวีดีโออย่าง Panasonic Lumix GH5 ที่ทำให้เขาถึงกับ ตะลึง

Sony A7III กล้อง Fullframe Mirrorless ตัวล่าสุด ที่จัดสเปคมาแบบเต็มเหนี่ยว แต่สามารถดัน ISO ถึง 204800 ในราคาเพียง $1,999 เทียบราคากับ Sony A7SII ($2,700) Sony A7RIII ($3,200) และ Sony A9 ($4,500)

นี่คือผลที่เกิดขึ้น !!!

ISO 6400 กล้องทุกตัวยังสภาพเต็มเปี่ยม

ISO 12800 GH5 ร่วงไปก่อนเพื่อนแล้ว

ISO 25600 A7RIII วิ่งนำมาโลด

แต่นี่คือบทสรุปของการแข่งครั้งนี้ A7III เอาชนะ A7RIII ที่ ISO 51,200 อย่างขาดลอย

Yuryev บอกว่าเขาแทบไม่เชื่อสายตาตัวเอง ว่ากล้องที่ราคาถูกกว่าและสเปคต่ำกว่าจะชนะการแข่งครั้งนี้

ตอนนี้ Sony A7III กลายเป็นกล้องที่ถ่ายภาพในที่แสงน้อยได้ดีที่สุด ในราคาแสนถูกไปแล้ว

ชาวโซนี่คิดอย่างไรบ้างกับ Sony A7III

 

ที่มา : maxyuryev.com

 

 

6 เคล็ดลับในการถ่ายภาพบุคคล “เริศสุด” จากของรอบตัว

กลับมาพบกันอีกครั้งนะครับ กับเคล็บลับที่คุณอาจจะยังนึกไม่ถึงว่าจะทำให้ภาพ Portrait ของคุณ “เฟี้ยวฟ้าว” จากสิ่งของที่รอบตัวคุณนี่แหละ ไปเริ่มกันเลย !!! 1.ถ่ายภาพเวลาฝนตก ☔ ภาพถ่ายเวลาฝนตกเนี่ย ให้อารมณ์ภาพเศร้า เหงา ซึม ใครก็อยากถ่าย เฮ้อ!!! แต่ใช่ว่าฝนจะตกติดกันทุกวัน หรือเวลาถ่ายภาพก็อาจทำให้คุณป่วย หรืออุปกรณ์เสียหายอีก ง่ายๆเลยครับ แค่คุณมีกรอบรูปขนาดใหญ่สักหน่อย กับสเปรย์ฉีดน้ำ ทำตามภาพเลยครับ ฉีดพรมน้ำให้ทั่วกรอบรูป แล้วก็นางแบบ ถือเอาไว้แบบนี้ เป็นไงละ เหงากันเลยทีเดียว 🌧 2.ไฟประดับก็เอามาใช้ได้นะ แค่เสียบปลั๊กแล้วถือในลักษณะนี้ หรือให้นางแบบถือก็ได้นะครับ ว้าว!!! สวยงามแปลกตากันเลยทีเดียวเชียว✨ 3.ผ้าคลุมโต๊ะนี่แหละ ใครกันจะไปนึกว่าผ้าคลุมโต๊ะ ก็ใช้ได้นะ ให้นางแบบถือเอาไว้ในลักษณะนะครับ โอโห้!!! เกินคาดจริงๆ ไม่น่าเชื่อว่าผ้าคลุมโต๊ะจะทำให้ภาพสวยขนาดนี้ 4.ใช้แท่งปริซึม ในการใช้แท่งปริซึม ให้เราถือจ่อเอาไว้ใกล้หน้าเลนส์ลักษณะนี้นะครับ แสงจะถูกหักเห เกิดเป็นเอฟเฟกทำให้ภาพสวยขึ้น สุดยอดจริงๆ 👏 5.จี้คริสตัลเองก็เช่นกัน  วิธีใช้ก็ในทำนองเดียวกันแท่งปริซึม ถือจ่อเอาไว้หน้าเลนส์ ✨ฟรุ้งฟริ้งๆ✨ 6.แผ่นซีดีจ้า💿💿💿 ให้เราใช้ไฟฉายจากมือถือ ส่องมาที่แผ่นซีดีแบบนี้นะ แผ่นก็จะสะท้อนแสงออกมา แล้วก็เล็งแสงสะท้อนไปที่นางแบบ ว้าวววว!!! … Read more

8 เคล็ดลับ นำของรอบตัวมาทำให้ภาพถ่าย Portrait ของคุณไม่ธรรมดาอีกต่อไป

สวัสดีครับ วันนี้พบกับวิธีสร้างสรรค์ที่จะนำสิ่งของรอบตัวของเรา แบบที่นึกไม่ถึงมาก่อน ช่วยทำให้ภาพถ่ายดูเก๋ โดดเด่น สวยงาม เอาไปอวดเพื่อนๆบนโซเซียล พัฒนาฝีมือการถ่ายภาพของเราได้อีกด้วย  ไปเริ่มกันเลยดีกว่าครับ   1.สร้างฟิลเตอร์จากหยดน้ำ ฉีดน้ำไปที่เลนส์ของคุณเลย พรมให้ทั่วหน้าเลนส์นะครับ *คำเตือน ไม่ควรฉีดใส่หน้าเลนส์ตรงๆ ควรใช้ฟิลเตอร์ปิดหน้าเลนส์ก่อน เพราะความชิ้นอาจทำให้สารที่เคลือบผิวหน้าเลนส์เสื่อมได้ แล้วลองไปถ่ายภาพย้อนแสงนะครับ เราก็จะได้ภาพสวยๆแปลกๆแบบนี้เลย หรือจะเป็นจากแสงหลอดไฟตอนกลางคืนแบบนี้ก็ได้อีกเหมือนกัน 2.สร้างเลนส์แฟร์จากเส้นเอ็น นำสายเอ็นมาขึงที่หน้าเลนส์ในลักษณะนี้นะครับ จากนั้นก็ถ่ายภาพย้อนแสงนะครับ เล็งทำมุมกับแสงซะหน่อย เราก็จะได้แฟร์สวยๆแบบนี้เลย 3.ทำเลนส์ Tilt-Shift จากแผ่นพลาสติก ตัดแผ่นพลาสติก ให้เป็นแผ่นวงกลมและตัดตรงกลางออกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วนำไปติดหน้าเลนส์ เราก็จะได้ภาพแบบนี้ ที่ส่วนบนและล่างของภาพถูกเบลอเหมือนเลนส์ Tilt-Shift ทีนี้ลองเปลี่ยนรูปทรงวงกลมกันบ้าง   ภาพรอบข้างก็จะถูกเบลอทั้งหมด เหลือเฉพาะแค่ตรงกลาง Wow!!! สุดยอดไปเลยครับผม 4.สร้างฟิลเตอร์จากแผ่นห่อของ นำแผ่นพลาสติกห่อของมาพัน บริเวณรอบหน้าเลนส์แบบนี้นะครับ หรือถือแบบนี้ก็ได้นะ ภาพสวยแปลกตาเลย เป็นไงล่ะ 5.สร้างฟิลเตอร์จากไหมพรม เลือกสีไหมพรมกันก่อนเลยครับ จากตัวอย่างเราจะใช้สีฟ้านะ ถือไหมพรมลักษณะแบบนี้นะครับ ขณะที่กำลังถ่ายภาพ โอโห้!!! เพิ่มสีสันเข้ามาทำให้ภาพแปลกตาไปเลย 6.สร้างฟิลเตอร์จากพู่คริสตมาส คราวนี้ลองใช้พู่คริสต์มาสมาจัดตำแหน่งหน้าเลนส์ในลักษณะนี้ ว้าว!!! … Read more