รู้หรือไม่? เลนส์ที่มีค่ารูรับกว้างที่สุดในประวัติศาสตร์การถ่ายภาพคือเลนส์อะไร

มาเข้าใจเรื่องพื้นฐานการถ่ายภาพกันก่อน เพื่อไม่ให้สับสน

รูรับแสงในเลนส์ที่เรียกกันว่า “ไดอะเฟรม” หรือ “ไอริส” เป็นชิ้นส่วนกลไกที่ออกแบบให้เป็นช่องปรับเปลี่ยนขนาดได้ ซึ่งสามารถนำมาใช้ควบคุมปริมาณของแสงที่ผ่านเลนส์ รูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์คือสองวิธีการหลักในการควบคุมการเปิดรับแสง แสงสลัวจะต้องการรูรับแสงที่กว้างขึ้นเพื่อช่วยให้แสงตกกระทบระนาบเซนเซอร์ภาพมากขึ้น ในขณะที่แสงที่สว่างกว่าจะต้องการรูรับแสงที่เล็กลงเพื่อให้ได้รับแสงในปริมาณที่เหมาะสมที่สุดตามความเร็วชัตเตอร์ที่กำหนด อีกวิธีหนึ่งคือ คงการตั้งค่ารูรับแสงไว้เหมือนเดิม แล้วเปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่คล้ายกัน แต่ขนาดช่องเปิดที่รูรับแสงมีให้ยังเป็นตัวกำหนดว่าแสงที่ผ่านเลนส์นั้น “ขนาน” กันมากเท่าใด จึงมีผลกระทบต่อระยะชัดลึกโดยตรง ดังนั้นคุณจะต้องควบคุมทั้งรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์เพื่อสร้างภาพที่มีลักษณะในแบบที่คุณต้องการ

เลนส์ทุกตัวมีรูรับแสงสูงสุดและต่ำสุดโดยแสดงเป็น “F-number” เราจะใช้เลนส์ 35 มม. F1.4 เป็นตัวอย่าง โดยที่ 35 มม. คือความยาวโฟกัส และ F1.4 คือรูรับแสงสูงสุด F-number ที่น้อยจะมาพร้อมกับรูรับแสงกว้าง และ F1.4 น่าจะเป็นรูรับแสงสูงสุดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่คุณจะพบเห็นได้ในเลนส์เพื่อการใช้งานทั่วไปก็เพียงพอแล้ว เลนส์ที่มีรูรับแสงสูงสุดที่ F1.4, F2 หรือ F2.8 โดยทั่วไปแล้วถือว่า “เร็ว” หรือ “สว่าง”

คราวนี้ในประวัติศาสตร์การถ่ายภาพ เลนส์ที่ความสว่างมากที่สุด คือ f/0.33 ว้าว!!! คิดดูว่ามันจะสว่างขนาดไหน

ย้อนกลับไปในปี 2554 ในการประมูลกล้องที่มีชื่อเสียงอย่าง “เวสต์ลิชท์” ในการประมูลเวสต์ลิชต์ ระบุว่าเลนส์นี้สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับกล้อง Cotarex Bullseye เลนส์สร้างขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1960 ในช่วงเวลาที่ บริษัท Carl Zeiss กำลังมุ่งเป้าไปที่การผลิตช่องรับแสงขนาดใหญ่ และใหญ่กว่าบริษัทคู่แข่งรายอื่นๆ

ขณะนั้นแคนนอนได้เปิดตัว เลนส์ f / 0.95 ขนาด 50 มม. และช่างภาพหลายคนเลือกที่ยึดค่ารูรับแสงกว้างๆ สว่างๆ ของแคนนอน มากกว่าประสิทธิภาพของกล้องที่ใช้ในสถานการณ์จริง

Herr Wolf Wehran ผู้บริหารของ  Carl Zeiss ขณะนั้น ตัดสินใจว่าเขาควรจะดึงความสนใจจากเหล่าช่างภาพ โดยการสร้างเลนส์ที่ความสว่างมากขึ้นมารับมือคู่แข่งอย่างแคนนอน

Herr Wolf Wehran ได้ไปพบเพื่อนในแผนกออกแบบเลนส์ Zeiss สองคน เขาพบเลนส์เก่าๆ ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการสร้างเลนส์อยู่มาก จึงลงมือสร้างเลนส์ขึ้นมา

จึงเป็นต้นกำเนิดเลนส์ที่ความสว่างมากที่สุดในโลก Carl Zeiss Super-Q-Gigantar 40mm f/0.33 “Q” ย่อมาจาก “Quatsch” ซึ่งแปลว่า “ไร้สาระ” ในภาษาเยอรมัน

น่าเสียดายที่เลนส์มีต้นทุนในการผลิตสูงเกินไปจนไม่สามารถนำมาจำหน่ายในระดับทั่วไปได้ เลนส์นี้จึงมีแค่ตัวต้นแบบ

คิดดูว่าที่ค่ารูรับแสง f/0.33 ภาพที่ได้จะเป็นอย่างไรนะ

ที่มา : petapixel