ชมภาพโลกใต้น้ำด้วยเลนส์มาโคร จาก”อนิเลา” ประเทศฟิลิปปินส์ โดยผลงานจากช่างภาพมือสมัครเล่นที่อายุเกิน 50 ปี!

ชมภาพโลกใต้น้ำด้วยเลนส์มาโคร จาก”อนิเลา” ประเทศฟิลิปปินส์ โดยผลงานจากช่างภาพมือสมัครเล่นที่อายุเกิน 50 ปี!

Ze’ev Kirshenboim วิศวกรอิเลคทรอนิคส์ ตำแหน่งประธานของบริษัท ACS Motion Control Ltd เป็นช่างภาพมือสมัครเล่นอายุ 52 ปี เขาชอบการถ่ายภาพกีฬา,สารคดีสัตว์ป่า และผู้คนที่เขาพบเจอ และเมื่อเร็วๆ นี้ เขาได้รวมงานอดิเรกของเขา คือ การดำน้ำและการถ่ายภาพ จากเพื่อนคนหนึ่งได้เชิญชวนให้เขาลองถ่ายภาพใต้น้ำและเข้าร่วมเวิร์คชอป “การถ่ายภาพมาโคร” ณ อนิเลา ประเทศฟิลิปปินส์

เขาเล่าตัวเอง ไม่เคยมีประสบการณ์ในการถ่ายภาพใต้น้ำมาก่อน ซึ่งเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งสำหรับ ชายที่อายุมากกว่า 5 ทศวรรษแล้ว เขาตัดสินใจสอบใบอนุญาตดำน้ำ ซื้ออุปกรณ์ถ่ายภาพและการดำน้ำที่จำเป็นไม่กี่อย่าง พร้อมกับคู่มือการถ่ายภาพใต้น้ำใน ทะเลแดง, ไอแลต เพื่อเตรียมตัวสำหรับการเข้าร่วมเวิร์คชอป

เวิร์คชอปได้จัดดำเนินการในเมืองอนิเลา จังหวัดบาตังกัส ของประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีบริการสอนการดำน้ำแบบเต็มรูป, สอนการขับเรือ ฯลฯ รวมทั้งยังมีศูนย์บริการดูแลอุปกรณ์กล้องที่ยอดเยี่ยมให้ใช้บริการอีกด้วย

อนิเลา ถือเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพมาโคร ความหลากหลายเป็นแนวปะการังที่น่าทึ่งมากมาย ปลาหลากหลายสายพันธุ์ อีกทั้งยังมีรีสอร์ทริมชายหาดตั้งอยู่ท่ามกลางป่าและให้ทัศนียภาพอันแปลกใหม่ขณะเดินทางไปและกลับจากสถานที่ดำน้ำ

“กุ้งจักรพรรดิ” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/160, F20, ISO100 ใช้เลนส์ขยายภาพขนาด 12.5)

ตารางการของเวิร์คชอปครั้งนี้ เริ่มในตอนเช้าตรู่ อาหารเช้าเริ่มเมื่อเวลา 06:30 รีวิวภาพถ่ายในวันที่ถ่ายภาพก่อนหน้า 07:00 ถึง 08:30 น. ดำน้ำตอนเช้าระหว่างเวลา 09:00 ถึง 12:00 พักรับประทานอาหารกลางวัน 12:00 ช่วงการเรียนรู้ทางทฤษฎี (การถ่ายภาพด้วยแสงการถ่ายภาพมาโครโดยการใช้แสงและอื่น ๆ ) เวลา 14:00 ถึง 20:00 การดำน้ำแบบบ่ายและเย็น ระหว่างเวลา 15:30 ถึง 19:00 ช่วงเย็นจะเป็นการแก้ไขภาพ แต่งภาพ และการส่งภาพบางส่วนสำหรับการทบทวนในเช้าวันรุ่งขึ้น

Ze’ev Kirshenboim มีกล้องที่ใช้อยู่ประจำตัวคือ Nikon D850, D5 และ Sony A9 สำหรับการท่องเที่ยวใต้น้ำครั้งนี้ เขาได้ตัดสินใจที่จะใช้ Sony a9 ด้วยเหตุผลสองประการคือ A9 มีขนาดเล็กทำให้ housingของกล้องมีขนาดเล็กตาม และสามารถตรวจสอบรูปถ่ายได้โดยไม่ต้องถอดสายตาออกจากช่องมองภาพ ซึ่งมีความสำคัญยิ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำให้ไม่ต้องย้ายกล้องเพื่อตรวจสอบรูปถ่ายบนหน้าจอด้านหลัง เมื่อถ่ายภาพสัตว์ขนาดเล็กจากระยะทางไม่ถึงห้าเซนติเมตร หากมัวแต่สนใจหลังกล้องวัตถุจะหายไปจากสายตาทันทีและใช้เวลาโฟกัสนานมาก

ครั้งนี้ เขาใช้เลนส์ Sony FE 90 มม. F2.8G สลับกับเลนส์ขยายภาพขนาด 12.5 สำหรับถ่ายภาพสัตว์ที่มีขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตร ร่วมกับ Nauticam  housing พร้อมกับไฟอีก 2 ดวง“ปลาปักเป้ากล่องเหลืองลายจุดดำ” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/160, F9, ISO100) “ปูขนเล็กชมพู” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/200, F14, ISO100 ใช้เลนส์ขยายภาพขนาด 12.5) “กุ้งปะการัง” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/200, F13, ISO1000) “หมึกวงสีน้ำเงิน” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/160, F14, ISO100)

ที่ใต้ทะเลนั้น พื้นผิวส่วนใหญ่ของแสงแดดถูกดูดซึมโดยน้ำเมื่อระดับ 2-3 เมตรแรก ที่ระดับความลึก 5 เมตรขึ้นไป จะเหมือนเจอกับสัตว์ประหลาด เพราะทุกตัวดูไม่มีสีและจะเห็นก็ตอนเมื่อส่องไฟเท่านั้น แม้แสงจากแฟลชที่มีพลังมากที่สุด ก็จะถูกดูดซึมโดยน้ำ ใต้น้ำระยะห่างจากกล้องไปยังวัตถุ (หลัก) ต้องถ่ายภาพระยะต่ำกว่า 1.5 เมตร ระยะการถ่ายภาพมาโครต้องน้อยกว่า 50 เซนติเมตร และซูเปอร์แมโคร (การเพิ่มกำลังขยายของกล้อง ขนาดภาพที่บันทึกไว้บนเซ็นเซอร์จะใหญ่กว่าขนาดจริงของวัตถุ) ระยะจะต้องอยู่ใกล้เกือบ 2 เซนติเมตร

“ปลาการ์ตูน” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/200, F11, ISO 100) “ลูกปลาการ์ตูน” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/2000, F5.6, ISO100) “กั้งทะเลกำลังฟักไข่” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/200, F13, ISO100)
“ปูทะเล” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/250, F9, ISO 100)“ปลาไหลนโปเลียน” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/160, F20, ISO100 ใช้เลนส์ขยายภาพขนาด 12.5)“ม้าน้ำหนาม” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/125, F11, ISO100)“ทากทะเลสีน้ำเงิน” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/200 sec, f/10, ISO 100) “ดาวทะเล” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/200, F9, ISO 100)

 

ที่มา : Dpreview