ชมภาพโลกใต้น้ำด้วยเลนส์มาโคร จาก”อนิเลา” ประเทศฟิลิปปินส์ โดยผลงานจากช่างภาพมือสมัครเล่นที่อายุเกิน 50 ปี!

Ze’ev Kirshenboim วิศวกรอิเลคทรอนิคส์ ตำแหน่งประธานของบริษัท ACS Motion Control Ltd เป็นช่างภาพมือสมัครเล่นอายุ 52 ปี เขาชอบการถ่ายภาพกีฬา,สารคดีสัตว์ป่า และผู้คนที่เขาพบเจอ และเมื่อเร็วๆ นี้ เขาได้รวมงานอดิเรกของเขา คือ การดำน้ำและการถ่ายภาพ จากเพื่อนคนหนึ่งได้เชิญชวนให้เขาลองถ่ายภาพใต้น้ำและเข้าร่วมเวิร์คชอป “การถ่ายภาพมาโคร” ณ อนิเลา ประเทศฟิลิปปินส์

เขาเล่าตัวเอง ไม่เคยมีประสบการณ์ในการถ่ายภาพใต้น้ำมาก่อน ซึ่งเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งสำหรับ ชายที่อายุมากกว่า 5 ทศวรรษแล้ว เขาตัดสินใจสอบใบอนุญาตดำน้ำ ซื้ออุปกรณ์ถ่ายภาพและการดำน้ำที่จำเป็นไม่กี่อย่าง พร้อมกับคู่มือการถ่ายภาพใต้น้ำใน ทะเลแดง, ไอแลต เพื่อเตรียมตัวสำหรับการเข้าร่วมเวิร์คชอป

เวิร์คชอปได้จัดดำเนินการในเมืองอนิเลา จังหวัดบาตังกัส ของประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีบริการสอนการดำน้ำแบบเต็มรูป, สอนการขับเรือ ฯลฯ รวมทั้งยังมีศูนย์บริการดูแลอุปกรณ์กล้องที่ยอดเยี่ยมให้ใช้บริการอีกด้วย

อนิเลา ถือเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพมาโคร ความหลากหลายเป็นแนวปะการังที่น่าทึ่งมากมาย ปลาหลากหลายสายพันธุ์ อีกทั้งยังมีรีสอร์ทริมชายหาดตั้งอยู่ท่ามกลางป่าและให้ทัศนียภาพอันแปลกใหม่ขณะเดินทางไปและกลับจากสถานที่ดำน้ำ

“กุ้งจักรพรรดิ” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/160, F20, ISO100 ใช้เลนส์ขยายภาพขนาด 12.5)

ตารางการของเวิร์คชอปครั้งนี้ เริ่มในตอนเช้าตรู่ อาหารเช้าเริ่มเมื่อเวลา 06:30 รีวิวภาพถ่ายในวันที่ถ่ายภาพก่อนหน้า 07:00 ถึง 08:30 น. ดำน้ำตอนเช้าระหว่างเวลา 09:00 ถึง 12:00 พักรับประทานอาหารกลางวัน 12:00 ช่วงการเรียนรู้ทางทฤษฎี (การถ่ายภาพด้วยแสงการถ่ายภาพมาโครโดยการใช้แสงและอื่น ๆ ) เวลา 14:00 ถึง 20:00 การดำน้ำแบบบ่ายและเย็น ระหว่างเวลา 15:30 ถึง 19:00 ช่วงเย็นจะเป็นการแก้ไขภาพ แต่งภาพ และการส่งภาพบางส่วนสำหรับการทบทวนในเช้าวันรุ่งขึ้น

Ze’ev Kirshenboim มีกล้องที่ใช้อยู่ประจำตัวคือ Nikon D850, D5 และ Sony A9 สำหรับการท่องเที่ยวใต้น้ำครั้งนี้ เขาได้ตัดสินใจที่จะใช้ Sony a9 ด้วยเหตุผลสองประการคือ A9 มีขนาดเล็กทำให้ housingของกล้องมีขนาดเล็กตาม และสามารถตรวจสอบรูปถ่ายได้โดยไม่ต้องถอดสายตาออกจากช่องมองภาพ ซึ่งมีความสำคัญยิ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำให้ไม่ต้องย้ายกล้องเพื่อตรวจสอบรูปถ่ายบนหน้าจอด้านหลัง เมื่อถ่ายภาพสัตว์ขนาดเล็กจากระยะทางไม่ถึงห้าเซนติเมตร หากมัวแต่สนใจหลังกล้องวัตถุจะหายไปจากสายตาทันทีและใช้เวลาโฟกัสนานมาก

ครั้งนี้ เขาใช้เลนส์ Sony FE 90 มม. F2.8G สลับกับเลนส์ขยายภาพขนาด 12.5 สำหรับถ่ายภาพสัตว์ที่มีขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตร ร่วมกับ Nauticam  housing พร้อมกับไฟอีก 2 ดวง“ปลาปักเป้ากล่องเหลืองลายจุดดำ” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/160, F9, ISO100) “ปูขนเล็กชมพู” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/200, F14, ISO100 ใช้เลนส์ขยายภาพขนาด 12.5) “กุ้งปะการัง” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/200, F13, ISO1000) “หมึกวงสีน้ำเงิน” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/160, F14, ISO100)

ที่ใต้ทะเลนั้น พื้นผิวส่วนใหญ่ของแสงแดดถูกดูดซึมโดยน้ำเมื่อระดับ 2-3 เมตรแรก ที่ระดับความลึก 5 เมตรขึ้นไป จะเหมือนเจอกับสัตว์ประหลาด เพราะทุกตัวดูไม่มีสีและจะเห็นก็ตอนเมื่อส่องไฟเท่านั้น แม้แสงจากแฟลชที่มีพลังมากที่สุด ก็จะถูกดูดซึมโดยน้ำ ใต้น้ำระยะห่างจากกล้องไปยังวัตถุ (หลัก) ต้องถ่ายภาพระยะต่ำกว่า 1.5 เมตร ระยะการถ่ายภาพมาโครต้องน้อยกว่า 50 เซนติเมตร และซูเปอร์แมโคร (การเพิ่มกำลังขยายของกล้อง ขนาดภาพที่บันทึกไว้บนเซ็นเซอร์จะใหญ่กว่าขนาดจริงของวัตถุ) ระยะจะต้องอยู่ใกล้เกือบ 2 เซนติเมตร

“ปลาการ์ตูน” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/200, F11, ISO 100) “ลูกปลาการ์ตูน” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/2000, F5.6, ISO100) “กั้งทะเลกำลังฟักไข่” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/200, F13, ISO100)
“ปูทะเล” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/250, F9, ISO 100)“ปลาไหลนโปเลียน” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/160, F20, ISO100 ใช้เลนส์ขยายภาพขนาด 12.5)“ม้าน้ำหนาม” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/125, F11, ISO100)“ทากทะเลสีน้ำเงิน” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/200 sec, f/10, ISO 100) “ดาวทะเล” Sony a9 + Sony FE 90mm F2.8G macro (1/200, F9, ISO 100)

 

ที่มา : Dpreview