วงการช่างภาพข่าวเศร้า  David Douglas Duncan ช่างภาพสายสงครามเสียชีวิตแล้วในวัย 102 ปี

เป็นเรื่องเศร้าของวงการช่างภาพหลังจากมีข่าวการจากไปของ David Douglas Duncan นักถ่ายภาพอาวุโสที่ผ่านเหตุการณ์ใหญ่อย่าง สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเกาหลี พร้อมยังลุยถ่ายภาพในหลายสมรภูมิจนเป็นที่ยอมรับในฝีมือทั้งความสามารถและรูปภาพที่สวยงาม จนหลายคนต่างยกให้เป็นช่างภาพทรงอิทธิพลคนหนึ่งของวงการเลยทีเดียว

Duncan เกิดเมื่อวันที่ 23 ปี 1916 ที่เมือง Kansas รัฐ Missouri จุดเริ่มต้นการถ่ายภาพนั้นเกิดจากตอนที่เขารับหน้าที่ดูแลเรื่องภาพและเป็นช่างภาพในขณะกำลังศึกษาวิชา สัตวิทยา และภาษาสเปนในมหาวิทยาลัยไมอามี จากนั้นเป็นต้นมาทุกวันของเขาจะมีกล้องถ่ายภาพสะพายติดตัวตลอดเวลา

“อาชีพช่างภาพข่าวเขาเริ่มต้นเมื่อเขาพกกล้องไปถ่ายเหตุการณ์โรงแรมไฟไหม้ที่เมือง Tucson รัฐ Arizona ในตอนนั้น Duncan กำลังศึกษาวิชาโบราณคดีใกล้ๆ มหาวิทยาลัย Arizona โดยในเว็บไซต์วิกิพีเดียบอกเล่าไว้ว่าภาพถ่ายของเขาเป็นหนึ่งในหลายภาพที่ลูกค้าโรงแรมกลับมาที่ตึกโดนเผาเพื่อหากระเป๋าเดินทางของเขา ซึ่งรูปนั้นกลายเป็นประเด็นทันทีแขกที่กลับมาหากระเป๋านั้นเป็นโจรปล้นธนาคารและในกระเป๋าใบนั้นคือหลักฐานที่จะมัดตัวเขาได้ซึ่งสุดท้ายโจรปล้นเงินก็ถูกวิสามัญฆาตกรรมในที่สุด และรูปดังกล่าวก็ไม่ได้เคยล้างออกมาอีกเพราะฟิล์มนั้นหายไปอย่างไร้ร่องงรอย

เมื่อสหรัฐฯประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 หลัง Pearl Harbor ถูกโจมตี Duncanสมัครเข้ากองทัพเรือและเริ่มต้นช่างภาพสายสงครามไปด้วย เขาได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ปฏิบัติการภาคพื้นสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเขาต้องเก็บภาพและถือปืนต่อสู้ไปด้วย

ในช่วงที่ Duncan อยู่ในสนามรบของติดตัวที่เขามี หมวกเหล็ก ผ้าคลุมกันฝน ช้อน แปลงสีฟัน เข็มทิศ และที่ขาดไม่ได้เลยคือ เครื่องวัดแสง ฟิล์ม และกล้องถ่ายภาพสองตัว ซึ่งเรื่องนี้ทางหนังสือพิมพ์ New York Times ว่า “เขาใช้กล้อง Rolleiflex ถ่ายในช่วงสงครามโลกซึ่งรวมถึงกล้องฟิล์ม 35 มิลลิเมตร และพกกล้องไลก้าไปในเกาหลีด้วย โดยส่วนใหญ่เขาใช้เลนส์ 50มม 135มม f/3.5 nikkor

ด้วยคุณภาพละรูปที่มีคุณค่าทำให้นิตยสาร Life รับ Duncan เข้ามาเป็นพนักงานช่างภาพประจำทันทีพร้อมส่งช่างคนเก่งไปบันทึกภาพเหตุการณ์ต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก จนเขาได้มีโอกาสเข้าไปบันทึกภาพในสงครามเวียดนามและสงครามคาบสมุทรเกาหลี

ตลอดการทำงานของเขานั้น เขามีความใกล้ชิดกลับค่ายนิคอนสูงมากทีเดียว โดยในปี 1950 ปีที่เขาเดินทางไปญี่ปุ่นและได้รู้จักศักยภาพของนิคอนและเป็นอีกกลไกสำคัญที่ทำให้คำว่า Nikon และ Nikkor เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ซึ่งตลอดการถ่ายภาพของเขานั้นเขาเป็นหนึ่งในช่างภาพที่ใช้นิคอนมาตลอดจนถึง 102 ปี และเมื่อคืน Duncan จากโลกนี้ไปอย่างสงบจากอาการติดเชื้อในปอดที่โรงพยาบาลในเมือง Grasse ประเทศฝรั่งเศส

ที่มา : Petapixel