7 เทคนิค Photo walk อย่างไรให้ได้ภาพสวยกลับบ้าน

เป็นกิจกรรมที่ช่างภาพสาย Street มักจะนิยมทำกันบ่อยๆ ยิ่งในต่างประเทศเองเรียกว่ามีช่องยูทูปกันเลยทีเดียว โดยช่องดังๆอย่าง Samuel L. Streetlife ที่มักจะมีวีดีโอ Photo walk ร่วมกับช่างภาพดังบ่อยๆ และในสื่อโซเชียลเองยังมีกลุ่มที่จะนัดกิจกรรม Photo walk กันเป็นกิจจะลักษณะ สำหรับเมืองไทยในเวลานี้มีนักถ่ายภาพสาย Street ออกล่าภาพเดี่ยวๆ กันบ่อยมากขึ้น วันนี้ Photo Update แบ่งปันเทคนิคเริ่มต้นให้มือใหม่ที่อยากลอง Photo walk ได้ลองนำไปฝึกฝนเพื่อให้ได้ภาพสวยๆ กลับบ้าน 1.ศึกษาเส้นทางและศึกษาสถานที่ให้มากที่สุด เป็นเรื่องสำคัญสำหรับการเดินถ่ายภาพ หรือ Photo walk ในการศึกษาเส้นทางที่เราจะไปกระทำ Photo walk อย่างมาก ไม่ว่าจะในเรื่องประวัติศาสตร์ความเป็นมา เอกลักษณ์ของบริเวณนั้นๆ สภาพอากาศในวันที่เราออกเดิน และอีกอย่างที่จำเป็นคือการศึกษาภาพของเหล่าช่างภาพที่ไปถ่ายก่อนหน้านั้น เพื่อใช้เป็นแนวทางการถ่ายของช่างภาพว่าจะเลือกที่จะถ่ายให้เหมือนหรือออกหามุมที่แตกต่างไปจากคนในโซเชียล รวมไปถึงกฎกติกาการถ่ายภาพเพราะบางสถานที่จะมีกฎการถ่ายภาพที่ไม่อนุญาตให้ตั้งขากล้องหรือใช้แฟลช 2.พกอุปกรณ์ไปเท่าที่จำเป็น โดยปกติคนที่กระทำ Photo walk มักจะใช้เวลาประมาน 1 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย ดังนั้นการพกอุปกรณ์เยอะๆจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีมากนักเพราะระยะทางที่มากและต้องอาศัยความคล่องตัวในการเคลื่อนที่เพื่อเสาะหามุมสวยๆในเวลาที่เหมาะสม ตามปกติช่างภาพหลายคนมักจะนิยมพกกล้องและเลนส์ไปอย่างละหนึ่ง ส่วนอุปกรณ์เสริมที่มักจะพกจะมีแฟลชและขาตั้งขนาดไม่ใหญ่มากเพื่อใช้ในบางสถานการณ์และแบตเตอรี่ เมมโมรี่การ์ดสำรองไปด้วย โดยช่างภาพชื่อดังอย่าง … Read more

6 เทคนิคฝึกถ่ายภาพอย่างไรให้มีเรื่องราว

“ภาพหนึ่งภาพ แทนคำกว่า 1 ล้านคำ” คำเล่าขานของนักสื่อสารและช่างภาพที่มักจะพูดให้ฟังกันเป็นประจำ เวลาพูดถึงรูปภาพ แต่การสร้างสรรค์ให้รูปภาพไม่กี่ใบให้เล่าเรื่องให้ผู้ชมภาพได้เข้าใจเรื่องราว เข้าถึงความรู้สึกของคนถ่ายได้อย่างลึกซึ้งมากที่สุดเท่าที่จะทำได้  ซึ่งช่างภาพดังๆ หลายคนสร้างภาพที่มีสเน่ห์ชวนหลงไหลด้วยการใส่เรื่องราวลงไปบนภาพฟังดูเป็นเรื่องง่ายแต่การจัดองค์ประกอบ ลำดับภาพรวมถึงการเล่นกับสีให้ออกออกมาลงตัวสอดคล้องกับเรื่องที่จะเล่านั้นต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง  fotoupdate รวบรวม 6 เทคนิคการคิดช่วยเสริมให้ภาพมีเรื่องราวและเสน่ห์มากยิ่งขึ้น 1.จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ จินตนาการถือเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์มุมมองใหม่ๆ ที่แตกต่างจากคนอื่น  เมื่อเราเห็นมุมที่เราสนใจ ลองต่อยอดดูว่าถ้ามีวัตถุเดินมาในเฟรม แสงอาทิตย์เปลี่ยนมุม ฝึกคิดล่วงหน้าก่อนยกกล้องถ่าย เรียกง่ายๆ ว่า พยายามคิดถึงภาพสุดท้ายว่าจะเป็นอย่างไร เรื่องราวจะออกมาประมาณไหน เรียกว่าเราใช้จินตนาการในการสร้างภาพออกมาก่อน  ยิ่งถ้าเราพกกล้องถ่ายภาพติดตัวเวลาออกไปข้างนอกแล้วละก็ จะเป็นตัวช่วยในเรื่องนี้มากทีเดียว 2.กล้าที่จะลอง อย่ากลัวที่จะล้มเหลว ยิ่งเรากลัวการวิจารณ์หรือมุมมองที่แตกต่างแล้ว  ตัวผู้ฝึกฝนอาจจะพัฒนาได้ช้ากว่าที่ควรจะเป็น เพราะผู้ชมจะเป็นกระจกที่คอยสะท้อนภาพของเราว่าเราสื่อสารได้ตรงกับผู้ชมหรือเปล่า ซึ่งความล้มเหลวและคำวิจารณ์จะเป็นแบบฝึกชั้นเยี่ยมในการเหลาความคิดและการมองภาพของเราให้แหลมคมมากขึ้น ฉะนั้นทิ้งความกลัวไว้ข้างหลังแล้วออกไปถ่ายภาพเพื่อพัฒนาตัวเองให้เก่งมากขึ้น   3.ถามตัวเองรูปที่ถ่ายจะสื่ออะไร เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญมากในการพัฒนางานถ่ายภาพของตนเองให้ดีขึ้น แม้เราจะเรียนรู้เทคนิคถ่ายภาพต่างๆ มาครบถ้วน แต่ในบางครั้งสเน่ห์ของภาพกลับไม่ได้อยู่ที่เทคนิคแต่เรื่องราวของภาพต่างหากที่เป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัด ซึ่งก็มีหลายภาพที่ภาพอาจจะดูไม่ชัดมากแต่เรื่องราวในเรื่องครบถ้วนแถมยังเป็นเรื่องที่น่าสนใจอีกละก็ ความน่าสนใจจะยิ่งทวีคูณเพิ่มขึ้นมาก EC-Mall แนะนำคำถามสั้นๆ ไว้ใช้ถามตนเองและภาพถ่ายดู 1.ถ่ายอะไรให้ได้อารมณ์ตามที่ตั้งใจ 2.แสงที่ได้ดีพอหรือยัง 3.องค์ประกอบเป็นไปอย่างที่คิดหรือไม่ 4.มิติในภาพเป็นอย่างไร 5.เรื่องราวในภาพ้ป็นหนึ่งเดียวกันหรือไม่ 4.อารมณ์ภาพต้องมา อารมณ์ความรู้สึกเป็นอีกสิ่งที่สำคัญในการสื่อสาร เพราะความรู้สึกเป็นสิ่งส่งถึงกันได้ง่ายโดยไม่ต้องอิงเหตุผลมากเท่าไร  … Read more

5 ไอเดียถ่ายภาพเกี่ยวกับน้ำให้ออกมาปัง

เข้าสู่ช่วงหน้าฝนเต็มตัวกันแล้ว หลายคนอาจจะอยากเก็บกล้องไว้ในตู้กันชื้นหรือไว้ในที่ปลอดภัยจากวายร้ายอย่าง ราและความชื้น  แต่ถ้ามาลองพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสการพัฒนาทักษะการถ่ายและการนำเหล่าเจ้าเชื้อรามาบริหารร่างกายขยับตัวกันสักเล็กน้อย Fotoupdate รวบรวม 5 ไอเดียสนุกๆช่วยเปลี่ยนหน้าฝนแสนหน้าเบื่อให้ฤดูกาลแห่งความท้าทาย มาโครหยดน้ำ ถ้าไม่มีเวลาที่จะออกไปล่าน้ำตก ลำธารสวยๆแล้วละก็ลองหยิบเลนส์มาโคร ขาตั้งกล้องคู่ใจออกเดินถ่ายภาพหลังฝนตก  สถานที่เป้าหมายอาจจะสวนสาธารณะ หรือบริเวณที่ดูแล้วเราจะได้ฉากสวยๆ ตั้งกล้องบนขาตั้งให้เรียบร้อยแล้วโฟกัสไปที่หยดปล่อยให้เบลอไป พยายามมุมสะท้อนวัตถุสวยๆ จากหยดน้ำ ช่วยให้ภาพดูมีเรื่องราวและน่าสนใจ ต้มทะเล ต้มทะเลไม่ใช่การเอาการนำกาไปต้มน้ำทะเล แต่เป็นเทคนิคการถ่ายภาพที่ใช้ชัตเตอร์สปีดต่ำเพื่อให้สายน้ำดูมีชีวิตและมีความเคลื่อนไหว ในเรื่องจังหวะเองก็มีส่วนสำคัญควรรอจังหวะที่น้ำทะเลกำลังซัดเคลื่อนเข้าฝั่ง เป็นเทคนิคง่ายๆ ช่วยให้ภาพดูน่าสนใจและมีเสน่ห์มากขึ้น ถ่ายฟองน้ำ ฟังดูอาจจะสงสัยว่ายากแต่ความจริงเราเริ่มถ่ายฟองน้ำจากในบ้านได้เลยแค่ใช้อ่างอาบน้ำหรือกะละมังแล้วเปิดก๊อกน้ำแรงๆให้เกิดฟองหรือมีไอเดียดีๆมีเสริมก็ได้ตามศรัทธาเสร็จแล้วติดเลนส์มาโคร ตั้งขาตั้งให้มั่นคงแล้วขยันถ่ายหน่อยเชื่อว่าได้ภาพฟองน้ำสวยๆ แน่เลย ผสมน้ำกับน้ำมัน อีกไอเดียเท่ห์ที่เริ่มต้นง่ายๆจากในบ้าน แค่นำน้ำมันมาผสมกับน้ำลงบนกระจกใสที่สะอาด จากนั้นใช้เลนส์มาโครส่องหาลายสวยๆ ของน้ำมันให้ได้ก็สำเร็จเรียบร้อย ได้ภาพสวยๆ ไว้โชวร์ได้เลย ไปดำน้ำถ่ายปลา หากเป็นคนมีใจรักการดำน้ำและอยากงบพอสมควรการพกกล้องลงไปถ่ายภาพใต้น้ำเป็นตัวเลือกที่ดีเยี่ยม เพราะภาพที่ได้จะไม่เหมือนใคร ด้วยความงามของปลานานาชนิด ปะการังและสีครามช่วยดึงเสน่ห์ของภาพให้ดูน่าสนใจและยากจะลอกเลียนแบบได้ง่ายๆ อ่านจบแล้วใครที่สนใจอยากเปลี่ยนวันเหงาๆ หน้าฝนให้ดูสนุกและท้าทายมากยิ่งขึ้น ลองนำไปพัฒนาและถ่ายทอดงานออกมาดู รับรองว่าสนุกสนาน

5 เทคนิค ถ่ายภาพกีฬาให้ออกมาสวย

ไม่ว่าจะงานกีฬาสีลูก หรือการถ่ายภาพกีฬา ถือว่าเป็นความท้าทายที่จะบันทึกภาพสวยๆมาไว้ในกล้องเราให้ได้ ในเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างในสนามเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนบางครั้งเราเดาไม่ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น จนบางครั้งภาพที่ได้มาดูไม่สนุกอย่างที่ตาเห็น วันนี้ fotoupdate มาแนะนำ 5 เทคนิคช่วยให้การถ่ายภาพกีฬาดูสนุกและได้ภาพดีๆ มากขึ้น 1.เข้าใจกีฬาที่ถ่าย เป็นเรื่องแรกที่สำคัญมากๆ สำหรับการทำความใจในกีฬาที่ถ่ายไม่ว่าจะเรื่องกติกาเท่านั้นรวมไปถึงนักกีฬาตัวเด็ดที่น่าติดตามเพื่อจะได้จับตามอง ทั้งหมดนี้ต้องทำการบ้านก่อนเริ่มเกมส์ เพื่อที่เราจะได้เข้าใจจังหวะที่ดีที่สุด รวมไปถึงภาพเรียกดราม่าที่เราจะได้มา ยกตัวอย่างเช่นกีฬาฟุตบอล ถ้าเราไม่ทราบกฎกติกาเราจะไม่รู้ว่า ล้ำหน้าคืออะไร เตะมุมเมื่อไรและนักกีฬาที่น่าสนใจที่ต้องคอยจับตามองเตรียมกดชัตเตอร์ ถ้าเรามีความเข้าใจในกีฬาจะทำให้เราพอรู้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการแข่งนั้นต้องรีบบันทึกภาพ 2.ตั้งค่า Shutter speed, ISO และ ระบบโฟกัส ในการถ่ายภาพกีฬาความเร็วชัตเตอร์เป็นสิ่งสำคัญหรือกุญแจในการที่จะจับภาพให้คมชัดเพราะกีฬาเกือบทุกประเภทมักจะเคลื่อนที่รวดเร็ว หากใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ไม่เหมาะสมก็จะทำให้ภาพที่ออกมาไม่ชัดเจนหรือเกิดอาการ  motion blur โดยในหนังสือบางเล่มกล่าวว่าความเร็วของชัตเตอร์สปีดควรเริ่มต้นจาก  1/250s แต่อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับความเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่ เมื่อมีการปรับความเร็วชัตเตอร์ให้มากขึ้นสิ่งที่จะต้องปรับตามคือ ISO เนื่องจากความเร็วชัตอตร์ที่มากขึ้นทำให้แสงที่เข้ากล้องจะมีปริมาณน้อยส่งผลให้ภาพมืด การปรับ ISO จึงไปช่วยให้เซนเซอร์มีความไวต่อแสงมากขึ้นทำให้ภาพไม่มืดเกินไป โดยบางครั้งอาจจะปรับ ISO เป็นออโต้หรือจะตั้งค่าเองก็ได้เช่นกัน ซึ่งบางเว็บไซต์ก็ชี้ว่าควรตั้งค่าไว้ที่ประมาน 1400-1800 แต่อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับสถานการณ์จริงรวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ด้วย ระบบโฟกัสเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ต้องระมัดระวังเพราะบางถ้าบางครั้งในขณะที่เรากำลังจะกดชัตเตอร์วัตถุมีการเคลื่อนที่  หากเราเลือกโหมดที่ไม่อำนวยอาจจะหลุดโฟกัส การตั้งโหมด AF-C ช่วยให้ระบบติดตามโฟกัสวัตถุอย่าต่อเนื่องจนกว่าจะกดชัตเตอร์ 3.หาอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการใช้งาน หากจะเอาจริงเอาจังการถ่ายภาพกีฬามากขึ้นการหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการถ่ายภาพ … Read more

80 ยังแจ๋ว!  Passing Time นิทรรศการภาพของช่างภาพชราชาวสิงค์โปร์

การได้มีโอกาสจัดนิทรรศการแสดงภาพถ่ายของตนเองถือว่าเป็นความใฝ่ฝันของช่างภาพหลายๆ คนเลยก็ว่าได้ เพราะไม่ใช่แค่ถ่ายรูปสวยเท่านั้น แต่เงินที่ต้องจ่ายไปนั้นไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว ทั้งค่าเช่าสถานที่ ค่าล้างรูปและอื่นๆจิปาถะที่ต้องจ่าย รวมไปถึงชื่อเสียงและเสน่ห์ของภาพที่ทุกคนมองแล้วต้องอุทานในความสวย ถือว่าไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะทำนิทรรศการภาพให้สมใจคนถ่ายแต่สำหรับช่างภาพสมัครเล่นวัย 80 ปี ที่ตอนนี้เขาได้ความฝันนั้นมาครองจากการถ่ายภาพสิงคโปร์มากว่า 50 ปีภายใต้ชื่อนิทรรศการ Passing Time โดยงานนี้ objectifs แกลเลอรี่ด้านภาพถ่ายจัดแสดงเองเลยทีเดียว Lui Hock Seng ช่างภาพขิงแก่ไฟแรง Lui Hock Seng ชายชราวัย 80 ปีประกอบอาชีพหลักเป็นพนักงานทำความสะอาดที่ตึก Singapore Press Holdings พร้อมพกอาชีพเสริมคือช่างภาพสมัครเล่นที่มักจะรับงานถ่ายภาพแต่งงาน โดยเขาฝึกถ่ายภาพมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1950  สมัยลุง Lui ยังหนุ่มเขามักจะพกกล้องถ่ายภาพตัวเก่งของเขาออกตะเวนเก็บภาพในสถานที่ต่างๆ ที่เขาไปในสิงคโปร์ แม้บางสถานที่ในภาพอาจจะหายไปตามกาลเวลาหรือเปลี่ยนแปลงไปจนจำไม่ได้ แต่ภาพถ่ายจากฟิล์มสีเนกาทีฟของลุงกลับชุบชีวิตเรื่องราวในอดีตให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิถีชีวิตของชาว kampong ที่มักจะอาศัยอยู่ในประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซียและสิงคโปร์ที่ปัจจุบันปรับเปลี่ยนชีวิตจนกลมกลืนไปกับคนท้องถิ่นแล้ว ซึ่งภาพถ่ายของลุง Lui ทำให้เราได้เห็นภาพในอดีตนั้นกลับมาอีกครั้ง หรือแม้แต่พ่อค้าเนื้องูในเขตไชน่าทาวน์ที่ปัจจุบันก็หาดูได้ยากเช่นกัน และอาชีพรับจ้างเขียนจดหมายเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่หายไปหลายสิบปีหลังจากการศึกษาเข้าถึงผู้คนทุกชนชั้น ซึ่งภาพถ่ายของ Lui Hock Seng ถ่ายทอดเรื่องราวในอดีตและความทรงจำที่น่าประทับใจไว้ได้อย่างสวยงามและทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์ แม้ทุกวันนี้ลุง … Read more